วันศุกร์, กรกฎาคม 18, 2568

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดัน "สินค้าสหกรณ์" แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้แก่สมาชิก

by Trust News, 14 กรกฎาคม 2568

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผลักดันการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเป็น "สินค้าสหกรณ์" ชู สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า รองรับผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิก เพื่อสร้างรายได้ โดยปี 68 ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของสถาบันเกษตรกร จาก 4,042 ล้านบาท เป้น 4,200 ล้านบาท หรือ 5%

การปรับโครงสร้างสินค้าภาคการเกษตรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยเน้นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า รองรับผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิก คือ 1 ในงานสำคัญของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้การนำของ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งอธิบดีเมื่อกว่า 4 ปีก่อน “การส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร” คือ 1 ในนโยบายที่อธิบดีให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

จากนโยบายดังกล่าว สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมมากขึ้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายสินค้าเกษตร เพื่อให้เกิด การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตระหว่างชนิดสินค้า (Matching Business) และขับเคลื่อนโดยระบบเครือข่ายที่จะช่วยให้สินค้ามีการพัฒนาร่วมกับการลดต้นทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สามารถขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้สหกรณ์ภาคการเกษตรที่ปัจจุบันมีจำนวน 4,509 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร อีก 4,661 กลุ่ม ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจในระดับชุมชนที่เป็นหลักในการช่วยเหลือให้บริการ และเป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่ได้

นางสายฝน แสงใส ผู้จัดการสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ การันตีสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 ผู้ผลิตและจำหน่ายไข่ไก่ ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันมีสมาชิก 31 ราย มีทั้งฟาร์มเลี้ยงขนาดใหญ่ กลางและรายย่อย ผลิตไข่ไก่ได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนฟองต่อวัน จำหน่ายให้ห้างโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ในจังหวัดภาคเหนือ ตลาดริมปิง เชียงใหม่ รวมทั้งเครือข่ายสหกรณ์ด้วยกัน โดยได้นำไข่ที่ได้รับความเสียหายจากกระบวนการผลิตมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยร่วมกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ปัจจุบันสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไข่ไก่มากมายหลายชนิด อาทิ ไส้กรอกไข่ขาว ไข่ขาวหลอดพร้อมรับประทาน เต้าหู้ไข่ไก่ และขนมฝอยทอง ทองหยิบทองยอดใช้วัตถุดิบจากไข่แดง จำหน่ายในตลาดริมปิง ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

เช่นเดียวกับสหกรณ์การเกษตรสว่างอารมณ์ จำกัด อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวกข43 และอื่น ๆ โดยการผลิตเฉลี่ย 1,000 ตันต่อรอบฤดูการผลิต ซี่งผลผลิตส่วนใหญ่นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นข้าวสารบรรจุถุงขนาดต่าง ๆ ภายใต้ตรา “เพชรสว่าง” ปัจจุบันนอกจากแปรรูปข้าวสารบรรจุถุงแล้ว สหกรณ์นำปลายข้าวหอมจากการสีมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตเป็น "เซรั่มบำรุงผิว" โดยร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานีและทีมนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในการดำเนินการ จนในที่สุดก็ได้ผลิตภัณฑ์เด่นออกมา ชื่อว่า "เซรั่มปลายข้าวหอมบำรุงผิว" ปัจจุบันขวดขนาด 90 ซีซี สนนราคาจำหน่ายอยู่ที่ 189 บาท ผลิตจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสหกรณ์ฯ กำลังต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ได้แก่ ครีมกันแดด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำวิจัย

นางอุบลรัตน์ นัคราจารย์ ที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรสว่างอารมณ์ จำกัด กล่าวถึงผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวจากปลายข้าวหอมอินทรีย์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปล่าสุดของสหกรณ์ จากเดิมที่สหกรณ์ได้จำหน่ายปลายข้าว สนนราคาอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปลายข้าวหลายเท่าตัว ซึ่งปกติปลายข้าวหอม 5 กิโลกรัมจะผลิตเซรั่มบำรุงผิวได้จำนวน 500 ขวด นับว่าเป็นการแปรรูปสินค้าที่มีการเพิ่มมูลค่าสูง ปัจจุบันผลิตตามออเดอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 ขวดต่อเดือน ในอนาคตหากมีออเดอร์เพิ่มขึ้นก็จะสามารถผลิตในจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบัน จากผลการดำเนินงานปรากฏว่า ปี 2566 มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 140 แห่ง โดยสามารถสร้างเครือข่ายแปรรูปสินค้าเกษตรและเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตเพื่อนำมาแปรรูป จำนวน 7 เครือข่ายที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการแปรรูปผลผลิต โดยมีมูลค่าจำหน่ายสินค้า/ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มขึ้น มูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปของสถาบันเกษตรกรก่อนเข้าร่วมโครงการมีมูลค่า 2,228.90 ล้านบาท และหลังจากที่เข้าร่วมโครงการมีมูลค่า 2,451.61 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่ากว่า 222 ล้านบาท


ต่อมาในปี 2567 จำนวนกลุ่มเป้าหมายได้ลดจำนวนลงเหลือ 100 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามงบประมาณประจำปีที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ขณะที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนอุปกรณ์การผลิตการตลาดเพื่อการแปรรูปแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 32 แห่ง มูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปของสถาบันเกษตรกรก่อนเข้าร่วมโครงการมีมูลค่า 1,883 ล้านบาท และหลังจากที่เข้าร่วมโครงการมีมูลค่า 1,994 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.90 คิดเป็นมูลค่ากว่า 111 ล้านบาท

ล่าสุดปี 2568 ได้กำหนดเป้าหมายให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า จำนวน 177 แห่ง ใน 57 จังหวัด ซึ่งมีมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปของสถาบันเกษตรกรก่อนเข้าร่วมโครงการมีมูลค่า 4,063 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน (สิ้นสุดไตรมาส 2) มีมูลค่ากว่า 2,300 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 จะมีมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 หรือประมาณกว่า 4,200 ล้านบาท รวมทั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการตลาดที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร จำนวน 16 แห่ง ทั้งนี้ ยังมีการสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายตลาดแปรรูปสินค้าเกษตร ให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน. 


You might be intertested in this news.

Mostview

แรงกระแทก “สีกากอล์ฟ” นารีพิฆาตพระ กับขบวนการทำลายพุทธศาสนา มีจริงไหม..? (ชมคลิป)

ปกติแล้ว เมื่อพระเจอ “นารีพิฆาต” จะมาในรูปแบบบุคคลกับบุคคล แต่กรณี “สีกากอล์ฟ” นั้น กลับไม่ใช่ เรียกว่า ทำให้คณะสงฆ์สมณศักดิ์หลายรูป โดยเฉพาะชั้น "เทพ" ต้องสละผ้าเหลือง เพราะแบบนี้ จึงถูกตั้งคำถามว่า จะเกี่ยวข้องกับ "ขบวนการทำลายพุทธศาสนา" หรือไม่...

โคล พาลเมอร์ เรียนรู้ที่ แมนฯซิตี้ เพื่อไปประสบความสำเร็จกับเชลซี

โคล พาลเมอร์ เรียนรู้ที่ แมนฯซิตี้ เพื่อไปประสบความสำเร็จกับเชลซี

อะไรคืออุปสรรค ที่ แมนยูฯ ของ อเลฮานโดร การ์นาโช่ (ชมคลิป)

อะไรคืออุปสรรค ที่ แมนยูฯ ของ อเลฮานโดร การ์นาโช่ (ชมคลิป)

แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (16ก.ค.68) ทยอยซื้อสะสม

แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (16ก.ค.68) ทยอยซื้อสะสม

แนวโน้มตลาดวันนี้ (14ก.ค.68) ความกังวลภาษียังกดดัน

แนวโน้มตลาดวันนี้ (14ก.ค.68) ความกังวลภาษียังกดดัน

TrustNEws Line