วันศุกร์, พฤษภาคม 2, 2568

นักวิชาการชี้ "Trump 2.0" เปลี่ยนเศรษฐกิจโลก กระทบ ววน.ไทยแน่ ต้องมีแผนรับมือจีน-สหรัฐฯ

by Trust News, 25 กุมภาพันธ์ 2568

สกวก.ระดมนักวิชาการร่วมเสวนาพิเศษ เรื่อง "Trump 2.0 กับระบบ ววน.ไทย: มิติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ชี้ไทยหนีไม่พ้นเจอผลกระทบแน่ แต่ต้องมีแผนรับมือแรงบีบ 2 ด้าน กับยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2568 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  งานเสวนาพิเศษ เรื่อง "Trump 2.0 กับระบบ ววน.ไทย: มิติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" หรือ วงการ ววน.เพื่อร่วมกัน กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนและจัดลำดับความสำคัญของการลงทุน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของประเทศ และตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่อาจทำให้ไทยต้องเจอผลกระทบจากการแข่งขันนของ 2 มหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา 

ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว.กล่าวว่า สกสว. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ได้เล็งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในระดับสากล จากปรากฏการณ์ที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกาเป็นสมัยที่ 2 และได้ประกาศใช้ "นโยบายการค้าอเมริกามาก่อน" (America First Trade Policy) เพื่อส่งเสริมการลงทุน เพิ่มผลิตภาพ และเพิ่มความได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะเกิดผลกระทบกับประเทศไทย ทั้งในแง่การค้าสินค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเทคโนโลยี

ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กล่าวว่า สถานการณ์ Trump 2.0 ถือเป็นความท้าทายสำคัญของระบบ ววน. ในการสนับสนุนและส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศด้วยองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในฐานะคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดและจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนและจัดลำดับความสำคัญของการลงทุน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของประเทศ และตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการใช้เครื่องมือการจัดสรรและบริหารงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. ให้มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการเสริมพลัง สร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วม จึงคาดหวังว่าการระดมความเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากเวทีนี้ จะทำให้พวกเราเห็นแนวทางร่วมกันในการการรับมือกับผลกระทบและสร้างโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วน ผศ.ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) กล่าวบรรยายพิเศษ Trump 2.0 โอกาสและความท้าทายต่อระบบ ววน.โดยวิเคราะห์ว่า Trump 2.0 อาจเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โลก โดยมุ่งเน้น นโยบายกีดกันทางการค้า การตั้งกำแพงภาษี และการเจรจาต่อรองที่เข้มข้น เพื่อนำภาคการผลิตกลับสู่สหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทย จีน และประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ขณะเดียวกัน จีนมีแนวโน้ม เพิ่มงบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาสำคัญ เช่น AI ควอนตัม พลังงานสะอาด และเซมิคอนดักเตอร์

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ กล่าวต่อว่า นโยบายของทรัมป์อาจเร่งให้เกิด "Tech War" ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีโลก โดยในยุค A.I. เราต้องการข้อมูลปริมาณมหาศาลเพื่อเทรนเอไอ ซึ่งเรื่องนี้จีนได้เปรียบ แต่เจนเนอร์เนทีฟ A.I. สหรัฐฯ ได้เปรียบในการประยุกต์ใช้ จีนได้เปรียบในเรื่องการมาของ DeepSeek เอ.ไอ. ที่สร้างความตกใจแก่ตะวันตก ในการใช้ชิปที่ราคาไม่แพงแต่มีประสิทธิภาพ เปิดโลกให้กับการใช้โอเพนซอร์สเอไอ

ผศ.ดร.อาร์ม กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์จีน เปลี่ยนจากการเอาเม็ดเงินไปลงทุนในกลุ่มอสังหาฯ มาเป็นการใช้ลงทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึงในด้านเอ.ไอ. จีนต้องการเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย เมื่อมาพิจารณาในการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติต่างๆ จีน เราเห็นเรื่องเมดอินไชน่า 2025 ใกล้เข้ามา แต่มีความสำเร็จ ชัดเจนด้านไบโอฟาร์มา และนวัตกรรมราวๆ ร้อยละสิบ นี่คืองบประมาณการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ กล่าวถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีแต่ละชาติว่า สหรัฐอเมริกา แม้ ปธน.ทรัมป์ ประกาศไม่สนใจเรื่องโลกร้อน และพลังงานสีเขียว แต่เขาก็มุ่งหน้าขุดน้ำมันแน่นอน อีกทั้งมีงบให้นาซาไปใช้สำรวจโลกและอวกาศ สหรัฐฯ ยังมีเทคฮับ 12 แห่ง ที่จะเป็นการแข่งที่ดุเดือดเพื่อสู้จีนในด้านเทคโนโลยี ฝั่งยุโรปก็มีการลงทุนด้านเทคโนโลยี ญี่ปุ่นมีการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ สูงสุดในรอบ 3 ปี เกาหลีใต้ ตั้งองค์กรอวกาศแห่งชาติ หรือ คาซา เพื่อบุกอวกาศภายในปี 2032 ไต้หวัน หันมาลงทุนด้านการทหาร เทคโนโลยีอาหาร และนวัตกรรม ทั้งหมดนี้จะทำให้การแข่งขันเทคโนโลยีรุนแรงมาก แม้แต่อุตสาหกรรมยา ก็เจอสภาวะ DeepSeek โมเมนต์

"โลกยุคใหม่จะเป็นเคเชป (K-Shape) คนที่จับเทคโนโลยีได้ จะเป็นเคขาขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิต โลกาภิวัฒน์​ 3.0 จะไม่มีจีนและสหรัฐเป็นหัวหอก เพราะตลาดจะปิดมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญ โรงงานในจีนจะเน้นผลิตตอบโจทย์ประเทศจีน เป็นเรื่องดีกับจีนและสหรัฐฯ ที่พึ่งพาตัวเองมากขึ้น พึ่งพาคนอื่นน้อยลง จีนและสหรัฐจะแข็งแรง ในขณะที่ทุกคนเริ่มจนลง คนที่แย่และต้องรีบปรับตัว คือ ประเทศกำลังพัฒนา ที่จะเป็นฝั่งเคขาลงที่จะพบกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

ฉะนั้น ทรัมป์ 2.0 ไทยจะได้ประโยชน์ลดลง จากกำแพงภาษีทรัมป์ ขณะที่ตลาดจีน จะมีสินค้าเข้ามาเมืองไทยและอาเซีย เพื่อขายในไทย และขายที่อื่น ทั่วโลกจะมีเศณษฐกิจที่ท้าทาย ซัพพลายเชนจะเจอความท้าทายอย่างมหาศาล เราจะรับมือความท้าทายอย่างไร จากคำถามเราจะรุ่งเรื่องได้อนย่างไร และเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนโลก ต้องเป็นเราจะเข็มแข็งยืนหยัดบนตลาดโลกได้อย่างไร ทำอย่างไรให้เป็นส่วนหนึ่งของนิวเทคซัพพลายเชน ดังนั้น ไทย เราต้องมีการลงทุนแบบมุ่งเป้า มีวาระแห่งชาติ สร้างความแข็งแกร่ง ของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ขยายตลาด สร้างเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านการ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา" ผศ.ดร.อาร์ม กล่าวทิ้งท้าย.


You might be intertested in this news.

Mostview

โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"

จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...

ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์

สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค

ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)

ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ

การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า

การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย

TrustNEws Line