วันศุกร์, พฤษภาคม 2, 2568

อว.-สกสว. ชูใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.รับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติแบบทันท่วงที

by Trust News, 1 เมษายน 2568

อว.พร้อมระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วน บูรณาการเครื่องมือ ววน. ทุกแขนง เพื่อตอบสนองสถานการณ์ทันท่วงที พร้อมให้ กองทุน ววน.โดย สกสว.หนุนงบประมาณการวิจัยสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีรับมือภัยพิบัติ

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กระทรวง อว. ได้เร่งระดมสรรพกำลัง ทั้งนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานในสังกัด เพื่อนำผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ผ่าน สกสว. ได้รับผิดชอบการจัดทำแผนวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของไทย และได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว

กระทรวง อว. ได้ส่งทีมหุ่นยนต์ iRAP Robot (ไอ-แล็ปโรบอท) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และหุ่นยนต์ตรวจการณ์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก D-EMPIR V.4 (ดี-เอ็มไพร์ เวอร์ชันโฟร์) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย บริเวณอาคารที่ทำงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ถล่ม พร้อมจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือด้านการตรวจสอบอาคารและการแพทย์ (ศปก.อว.) มีการใช้ Traffy Fondue ให้ประชาชนแจ้งเหตุ เพื่อส่งทีมเข้าประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขณะที่ GISTDA ได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม THEOS-2 ประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบก่อนหลัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กองทุน ววน. ได้มีการจัดสรรงบฯ เพื่อดำเนินการในแผนงานสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการบริหารจัดการภัยทางธรรมชาติแบบบูรณาการ อาทิ

1) “InSpectra-01” เทคโนโลยีที่นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการตรวจจับและวัดขนาดรอยร้าวในโครงสร้างอย่างแม่นยำและรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินความเสียหายของโครงสร้าง ด้วยระบบ Agentic.AI โดย รศ.ดร.พรหมพัฒน ธัญสิริชัยศรีศูนย์วิจัยตรวจสอบโครงสร้างและเฝ้าระวัง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2) “เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวราคาประหยัด
” เซนเซอร์ตรวจวัดอาคารเป็นอุปกรณ์ที่วัดค่าความเร่ง สามารถวัดค่าความสั่นสะเทือนและแจ้งเตือนผ่านเซนเซอร์นี้ โดยลดต้นทุนการนำเข้าจากหลักแสน เหลือเพียงหลักหมื่นบาท ทำให้ “ผู้ใช้” ซึ่งเป็นวิศวกรดูแลอาคาร และผู้บริหารโรงพยาบาลตัดสินใจความปลอดภัยของอาคารได้หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดย รศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา



3) “หุ่นตรวจการและเก็บกู้วัตถุระเบิด รุ่น D-EMPIR V.4” ถูกออกแบบสำหรับการปฏิบัติงานเก็บกู้วัตถุระเบิด และสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายเมื่อเกิดความเสียหาย โดยในช่วงสถานการณ์วิกฤตหุ่นยนต์ D-EMPIR V.4 ได้ถูกนำมาลงพื้นที่เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ณ ถ.กำแพงเพชร เขตจตุจักร กทม. ที่มีผู้บาดเจ็บและสูญหายเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยหุ่นยนต์มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัวสูง มีการติดตั้งแขนกลพิเศษ สามารถเข้าพื้นที่แคบได้โดยใช้แขนกลหยิบจับสิ่งของและปีนป่ายทางต่างระดับได้อย่างคล่องตัว โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI)



4) “แพลตฟอร์ม Traffy Fondue” ทราฟฟี ฟองดูว์ เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกพัฒนาเพื่อรองรับการแจ้งเหตุและบริหารจัดการปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งปัญหาและร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้ข้อมูลถูกส่งตรงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ลดระยะเวลาในการประสานงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ได้มีการนำแพลตฟอร์ม Traffy Fondue เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหวให้กับประชาชน โดยปัจจุบันมีการแจ้งข้อมูลกว่า 5,000 กรณี โดย ห้องปฏิบัติการระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

น.ส.ศุภมาส กล่าวอีกว่า นอกจากหุ่นยนต์กู้ภัย จากมหาวิทยาลัย ที่เข้าไปช่วยในการสำรวจวางแผนกู้ภัยอาคารที่ถล่ม ตัวกองทุน ววน.ก็สำคัญมาก ทาง สกสว.เตรียมงบไว้สนับสนุนแผนงานแก้ปัญหาแผนรับมือภัยพิบัติ เพราะเห็นว่า เหตุการณ์แบบนี้ สร้างความเสียหายรุนแรง แล้วการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าได้ไม่นาน ทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว เมื่อเกิดภัยพิบัติทุกคนก็มาขอ อว.ช่วยเหลือ เพราะเรามีนักวิชาการ มีเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัยไปช่วย แม้แต่ล่ามภาษาพม่า ก็ได้อาจารย์ ม.สยามไปช่วยในการสื่อสาร ที่จำเป็นจริง คือ การตรวจสอบลอาคารเพื่อลดความวิตกกังวลแก่ประชาชน และเข้าไปฟื้นฟูช่วยผู้ประสบภัย หรือแม้แต่ที่พักพิงชั่วคราว โดยเราเปิดที่พักช่วยเหลือ รวมทั้งอาหารการกิน ดูแลผู้ประสบภัย

"กระทรวง อว. เราส่งทีมวิศวกรอาสาที่เป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยหลักๆ ทั่วประเทศ ไปช่วยตรวจสอบอาคาร ที่ได้รับความเสียหาย ประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือตรวจอาคารได้ เพียงแจ้งทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กของ กระทรวง อว. จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องไว้ นอกจากนี้ยังแจ้งผ่าน ทราฟฟี ฟองดูว์ ที่ ขณะนี้ เปิดรับเรื่องขอความช่วยเหลือตรวจอาคารที่เสียหายในกรุงเทพและปริืมณฑล ไปแล้วหลายหมื่นเคส จนอัปเดตล่าสุดมีการเปิดโหมดแผ่นดินไหว และบริการการแพทย์ ทั้งนี้ ผลการดำเนินงาน ทีมได้ประเมินอาคารไปแล้วกว่า 7 พันเคส ผ่านทราฟฟี ฟองดูว์ของ สวทช." รมว.อว. กล่าว

ด้าน ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวถึงนโยบายการจัดสรรงบประมาณวิจัยเพื่อรองรับภัยพิบัติ โดยมีแผนงาน (P16) ที่มุ่งเน้นการพัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ววน.) โดยแบ่งเป็นสองภาคส่วนหลัก คือ “ภาคการเกษตร” มุ่งเน้นการรับมือกับผลกระทบจาก Climate Change โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยระบบเตือนภัย การปรับปรุงพันธุ์และการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงภัยแล้ง การระบาดของแมลง และการกัดเซาะชายฝั่ง

ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวต่อว่า ขณะที่ “ภาคเมืองและอุตสาหกรรม” มุ่งเน้นการรับมือแผ่นดินไหว สึนามิ วาตภัย น้ำท่วม/น้ำแล้ง ภัยจากความร้อน ดินโคลนถล่ม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ Biodiversity ความมั่นคงทางน้ำและสุขภาพและสัตว์เศรษฐกิจ รวมถึงมีแผนงาน (P24) แก้ไขปัญหาและตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (Resilience) มีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านความรู้ กำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน.

ศ.ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า สกสว. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยเน้นการนำ ววน. มาใช้ในการรับมือภัยพิบัติ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
1. จัดสรรงบประมาณวิจัย: ภายใต้แผนงานเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตระดับประเทศ เช่น แผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
2. ร่วมกับ สอวช. ทบทวนและยกระดับแผนด้าน ววน. ของประเทศ: เพื่อให้ตอบโจทย์ปัญหาท้าทายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม


3. นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสนับสนุนหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัย: เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์
4. สนับสนุนภารกิจด้านการสร้างความตระหนักรู้ การป้องกัน และการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในทุกระดับ: ทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการรับมือภัยพิบัติ
5. ขับเคลื่อนบทบาทของ อว. และ สกสว. ให้เป็นกลไกลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน: เน้นย้ำเป้าหมายหลักคือการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

"สกสว.พร้อมรับนโยบาย กระทรวง อว. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ การรวมกลุ่มของวิศวกรรมร่วมใจ อววน. ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญและศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Talents & Knowledge) ระบบที่เชื่อมต่อประชาชนกับภาครัฐเพื่อประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (Al-Enable Traffy Fondue โดยกองทุน ววน.) และที่สำคัญคือการร่วมงานเครือข่ายกับต่างประเทศสร้างความรู้เชิงระบบเตือนภัยกับประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยความร่วมมือนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยรับประมาณ" ผอ.สกสว.กล่าว.


You might be intertested in this news.

Mostview

โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"

จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...

เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น

เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น เมื่อสองพี่น้องต่างอุดมการณ์แตกต่างกัน จะขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรศรีสัชนาลัย สุโขทัย ...

ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์

สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค

ไขคดีใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ

นาครั้งใหม่ ของภาพยนตร์อะนิเมะสืบสวนสุดเดือด “ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ 2” จาก ค่ายยักษ์ใหญ่ บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) จำกัด

TrustNEws Line