เนคเทค เปิดตัว “HandySense B-Farm” สร้างไว้ใช้ง่าย ยกระดับเกษตรกรไทยสู่ดิจิทัล
by Trust News, 19 กุมภาพันธ์ 2568
เนคเทค สวทช. พร้อมพันธมิตร เปิดตัว HandySense B-Farm โซลูชั่นฟาร์มอัจฉริยะเพื่อเกษตรกรไทยก้าวสู๋ยุคดิจิทัล ชูใช้งานง่าย สร้างได้ไวในรูปแบบ Block Module ทำได้เองไม่ต้องเขียนโค้ด ตอบโจทย์์เกษตรกรทุกแบบทั้งพืชไร่ พืชสวนและปศุสัตว์
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่อาคารสราญวิทย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดตัว“HandySense B-Farm ฟาร์มอัจฉริยะ สร้างง่าย ได้อย่างใจ” นวัตกรรมเกษตรดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเกษตรกรไทย ก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเต็มตัว โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ เนคเทค นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรุ่งศักดิ์ พงษ์ไสว ผู้บริหารทีมงาน สำนักพัฒนา SME และ Startup ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร่วมในพิธีเปิด นอกจากนี้ภายในงานยังเปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร พร้อมจัดแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากศูนย์วิจัยฯ และพันธมิตร เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม


ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กล่าวถึงบทบาทด้านการวิจัยพัฒนาด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) ของเนคเทค สวทช. ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นตัวแปรสำคัญของการพัฒนาในทุกภาคส่วน เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยพัฒนาให้แก่ภาคเกษตรกรรม เนคเทค จึงได้จัดตั้งทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ที่จะช่วยเปิดประตูสู่ การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ด้วยการนำเทคโนโลยีแกนหลักของเนคเทค ทั้งด้าน Sensor, IoT Network, AI และ Big Data พร้อมกับความเชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ เช่น Embedded System, Machine Vision, Photonic, Phonotype เพื่อมาผสมผสานพัฒนาเป็นผลงานเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตร


ในปัจจุบันมีผลงานวิจัยใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ระบบตรวจวัด (2) ระบบควบคุมความแม่นยำสูง และ (3) ระบบช่วยตัดสินใจ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยังช่วยสร้างความแม่นยำ ลดการสูญเสีย ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้จากผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ มิติเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในโครงการการผลิตพืชสมุนไพรและเกษตรอัจฉริยะ ตามกลยุทธ์ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (S&T Implementation for Sustainable Thailand) ของ สวทช.

ระบบ HandySense B-Farm ผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เซนเซอร์อัจฉริยะ, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Internet of Things (IoT) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร หรือผู้ประกอบการด้านเกษตร สามารถนำไปใช้ควบคุม บริหารจัดการระบบฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ นำไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมไทยให้ก้าวไกลและแข่งขันได้ในตลาดโลก


"การเปิดตัว HandySense B-Farm ถือเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของวงการเกษตรไทย ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายของเนคเทค และหน่วยงานพันธมิตรทุกหน่วยที่เล็งเห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมในระบบนิเวศในการผลักดันเกษตรกรไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ เราเชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่เพียงเครื่องมือ แต่เป็น "โอกาส" ที่จะช่วยให้ภาคเกษตรกรรมไทยสามารถแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืน" ดร.พนิตา กล่าว


ด้าน นายนริชพันธ์ เป็นผลดี หัวหน้าทีมนักวิจัย เกษตรดิจิทัล เนคเทค กล่าวว่า เรามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี 64 จากจุดเริ่มต้นการปลูกมะเขือเทศที่ฉะเชิงเทรา เราอยากสบาย นำเทคโนโลยีมาทุ่นแรง จึงเอาความรู้ด้านเซ็นเซอร์มาใช้ด้านการเกษตร ทำให้สามารถควบคุมพืชรู้สึกสบายจากการคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมการออกผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกไม่ดี ตอนแรก เราใช้เซ็นเซอร์กับงานฟาร์มได้เพียง 4เดือน เพราะการเกษตรมีปัจจัยที่แปรปรวสนมาก อุปกรณ์ต้องได้มาตรฐาน ทนต่อสภาพแวดล้อม จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น จากนั้นก็เอาไปขยายผลให้เกษตรกร แต่ ชาวนา ชาวสวนไทย ยังขาดองค์ความรู้ เพราะเป็นคนสูงวัย 58-65 ปีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องยาก


หัวหน้าทีมนักวิจัย เกษตรดิจิทัล เนคเทค กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือ เราต้องทำเทคโนโลยีการเกษตรให้ใช้ง่าย อุปกรณ์ใช้แล้วรู้สึกดี มีปัญหาต้องได้คนลงไปดูแล ให้คำปรึกษา โดยผ่านการสร้างบุคลากรบนนวัตกรรมเปิด ไม่มีไลเซนส์ สามารถเข้าถึงได้ ขณะเดียวกัน เราก็จับมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร สร้างเป็นสถาบันให้การอบรมคน เพื่อเป็นผู้สนับสนุนเกษตรกรต่อไป ที่ผ่านมา เราพบอุปสรรคในการทำการเกษตร เทคโนโลยีต้องเข้าไปแก้ปัญหาได้ เทคโนโลยียากเกินไปสำหรับเกษตรกร เราก็ต้องมีผู้ประกอบการ หรือ เวนเดอร์ในพื้นที่ลงไปดูแล ระบบที่มีอยู่ต้องตอบโจทย์ ความต้องการสำหรับพืชที่หลากหลายทั้งพืชไร่ และพืชสวน


นายนริชพันธ์ กล่าวด้วยว่า HandySense B-Farm ทำให้เกษตรกรสร้างสมาร์ทฟาร์มเองได้ง่ายๆ รวดเร็วดั่งใจ ตอบโจทย์ความต้องการ ตั้งค่า และเแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เราพัฒนาขึ้นมาบนองค์ความรู้ ในรูปแบบ Block Module ที่เป็นเซ็นเซอร์ที่หลากหลาย ใช้ควบคุมได้ทั้งแสง อุณหภูมิ น้ำ สารอินทรีย์ ไปจนถึงคาร์บอน เหมาะกับการทำนาเปียกสลับแห้ง หรือปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงเป็ด ทำให้เป็ดอารมณ์ดี ผลผลิตได้คุณภาพ โซลูชั่นนี้จึงเหมาะกับเกษตรกรอัจฉริยะ ผู้ประกอบการ หน่วยงานสนับสนุนตามนโยบายภาครัฐ ทั้งนี้ เราพร้อมให้ประชาชนทั่วไปใช้งานแล้ว มีซอฟต์แวร์พร้อมให้ดาวน์โหลด V1.0.


You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
