RareEarthบำเหน็จสงคราม สำคัญต่อสหรัฐฯแค่ไหน?
by Trust News, 28 กุมภาพันธ์ 2568
RareEarthบำเหน็จสงคราม สำคัญต่อสหรัฐฯแค่ไหน?
หลังประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี้ ของยูเครน ยอมรับข้อเสนอของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ในเรื่องข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จาก “แร่หายาก” (Rare Earth) มากถึง 50% จากมูลค่าประเมินเบื้องต้นทั้งหมดมากกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (17ล้านล้านบาท) บนแผ่นดินยูเครน เพื่อหวังแลกกับหลักประกันความมั่นคงจากทำเนียบขาว
หลังฝ่ายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อ้างถึงสาเหตุที่สหรัฐฯควรได้ประโยชน์จาก Rare Earth ของยูเครน เป็นเพราะในช่วงสงครามระหว่างเครมลินและเคียฟในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯถือเป็นประเทศที่ทุ่มเทให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนมากกว่าประเทศพันธมิตรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป หรือ อียู ดังนั้น สหรัฐฯ จึงควรได้รับผลตอบแทนจากเงินภาษีของชาวอเมริกันที่ส่งไปให้ความช่วยเหลือยูเครนบ้าง?
1. สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือยูเครนมากเสียจนถึงขนาด “ร้องขอ” ผลตอบแทนที่สูงมากมายขนาดนั้นจริงหรือ?
2. Rare Earth คืออะไรและสำคัญมากขนาดไหน?
3. การลงทุนขุด Rare Earth ในยูเครนจะคุ่มค่าจริงหรือ?
วันนี้ “เรา” ลองไปสำรวจข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณาใน “คำถาม” เหล่านั้นร่วมกัน…
จริงหรือที่สหรัฐฯช่วยเหลือสงครามยูเครนมากที่สุด? :
5 อันดับประเทศให้บริจาคความช่วยเหลือแก่ประเทศยูเครน ในการทำสงครามกับประเทศรัสเซียสูงสุด ระหว่างวันที่ 24ม.ค.22 - 31ธ.ค.24
1. สหรัฐอเมริกา :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 46,600 ล้านยูโร (1.6ล้านล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 3,400 ล้านยูโร (120,822ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ : 64,100 ล้านยูโร (2.2ล้านล้านบาท)
2. สหภาพยุโรป :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 46,400 ล้านยูโร (1.6ล้านล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 2,600 ล้านยูโร (92,393ล้านบาท)
3. เยอรมนี :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 1,410 ล้านยูโร (50,105ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 3,200 ล้านยูโร (113,715ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ : 12,600 ล้านยูโร (447,753ล้านบาท)
4. สหราชอาณาจักร :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 3,840 ล้านยูโร (136,458ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 900 ล้านยูโร (31,982ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ : 10,100 ล้านยูโร (358,913ล้านบาท)
5. ญี่ปุ่น :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 9,200 ล้านยูโร (326,931ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 1,300 ล้านยูโร (46,196ล้านบาท)
ส่วนประเทศฝรั่งเศส ซึ่งโผล่มาแสดงตัวเรื่องขอเอี่ยวผลประโยชน์จาก “แร่หายาก” ในยูเครนอย่างชัดเจนนั้นอยู่ในลำดับที่ 10 :
ความช่วยเหลือทางการเงิน : 800 ล้านยูโร (28,428ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรม : 600 ล้านยูโร (21,321ล้านบาท)
ความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ : 3,500 ล้านยูโร (124,376ล้านบาท)
อ้างอิงข้อมูลจากเว็ปไซต์ Kiel Institute สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนี
Rare Earth คืออะไร? :
Rare Earth คือ กลุ่มแร่ธาตุ 17 ชนิด ที่เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์และกลุ่มโลหะทรานซิชัน โดยสาเหตุที่เรียกว่า “แร่หายาก” ไม่ได้เป็นเพราะว่าแร่เหล่านี้หายากหรือมีน้อย แต่เป็นเพราะสินแร่ที่พบในบริเวณเปลือกโลกเหล่านี้ มักจะไม่รวมกลุ่มอยู่ในที่เดียวกัน อีกทั้งการสกัดแร่ชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงทำให้ยากต่อการสร้างเหมืองเพื่อขุดเจาะทำเหมืองแร่ชนิดนี้
ไม่เพียงเท่านั้น วิธีการถลุงแร่ Rare Earth นั้น จำเป็นต้องถลุงและสกัดเอาสารบริสุทธิ์จากแร่ เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า ออกไซด์ของโลหะ ก่อนที่จะเอาออกไซด์มาบดเป็นผงและแยกออกมาเป็นชนิดต่างๆกัน และด้วยกระบวนการอันยุ่งยากนี่เอง จึงทำให้แร่กลุ่มดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็น “แร่หายาก”
Rare Earth สำคัญอย่างไร? :
แร่ในกลุ่มนี้ ถูกใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ สมาร์ทโฟน รถไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟไฟภายในบ้าน หรือแม้กระทั่ง ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการกลั่นนํ้ามันในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม รวมไปจนกระทั่งถึงอาวุธสงครามและกระสวยอวกาศ
ประเทศใดที่มี Rare Earth มากที่สุด? :
ปัจจุบัน ประเทศจีน ถือเป็นผู้ครอบครองปริมาณสำรองแร่หายากมากที่สุดในโลก ถึง 44 ล้านตัน และยังผลิต Rare Earth ได้ถึง 62% ของการผลิตโลกด้วย ส่วนประเทศอื่นๆที่ ครอบครองปริมาณสำรอง Rare Earth ลำดับถัดมาประกอบด้วย...
ลำดับที่ 2 : ประเทศบราซิล 21 ล้านตัน
ลำดับที่ 3 : ประเทศอินเดีย 6.9 ล้านตัน
ลำดับที่ 4 : ประเทศออสเตรเลีย 5.7 ล้านตัน
ลำดับที่ 5 : ประเทศรัสเซีย 3.8 ล้านตัน
ลำดับที่ 6 : ประเทศเวียดนาม 3.5 ล้านตัน
ลำดับที่ 7 : ประเทศสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านตัน
อ้างอิงข้อมูล : สำนักสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey) หรือ USGS
เพราะอะไรสหรัฐฯ จึงต้องการ Rare Earth จากยูเครน? :
สหรัฐฯ ต้องการลดการพึ่งพาจากจีน เนื่องจากปัจจุบัน จีนถือเป็นทั้งผู้ครอบครองและผู้ส่งออก Rare Earth รายใหญ่ของโลก ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯยังจำเป็นต้องนำเข้าแร่หายากนี้ จากฝ่ายจีนมากถึง 70% ของสัดส่วนการนำเข้าทั้งหมด (ลำดับที่ 2 และ 3 คือ มาเลเซียและญี่ปุ่น สหรัฐฯนำเข้าในสัดส่วนเพียง 13% และ 6% เท่านั้น)
ดังนั้น หากฝ่ายสหรัฐฯ สามารถเปลี่ยนสมการตรงนี้ด้วย Rare Earth จากยูเครน อาจทำให้เกมการทำสงครามการค้ากับฝ่ายจีนเปลี่ยนโฉมหน้าไปก็เป็นได้
Rare Earth ของ ยูเครน จะคุ้มค่าต่อสหรัฐฯ มากน้อยเพียงใด? :
ความเห็นจาก นักวิเคราะห์ศูนย์เพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (Center for Strategic International Studies) หรือ CSIS มองว่า การขุดและถลุงแร่ Rare Earth นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย
อีกทั้งยังต้องใช้เงินลงทุนสูงในระดับ 500 - 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (17,768ล้านบาท-35,536ล้านบาท) สำหรับสร้างเหมืองแร่และโรงงานผลิต รวมถึงยังต้องรอระยะเวลาอีกพอสมควร สำหรับการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ซึ่งในกรณีนี้สหรัฐฯ อาจต้องใช้ระยะเวลารอยาวนานถึง 20 ปีเป็นอย่างน้อย
ขณะเดียวกัน ยังมีอุปสรรคในเรื่องข้อมูลอันจำกัด ในการขุดหาแหล่ง Rare Earth ในยูเครนด้วย เนื่องจากยังต้องอาศัยข้อมูลเก่าจากแผนที่ทางธรณีวิทยา ที่จัดทำขึ้นจากการสำรวจด้วยเทคโนโลยีโบราณตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อกว่า 30-60 ปีก่อน
ยิ่งไปกว่านั้นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของยูเครน ที่ถูกทำลายย่อยยับลงอย่างสิ้นเชิงจากพิษภัยสงคราม รวมถึงความเสี่ยงจากความขัดแย้งที่ยังคงอยู่กับรัสเซีย จะสามารถเย้ายวนใจบรรดานักลงทุนชาวสหรัฐฯ ให้ยอมเสี่ยงทั้งในแง่เงินลงทุนและความปลอดภัยสำหรับการเข้ามาลงทุนในยูเครนมากน้อยแค่ไหนด้วย
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 38% ของจำนวนการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก และระหว่างปี 2022 - 2023 มีรายงานว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าของยูเครนเกือบครึ่งหนึ่ง ถูกทำลายหรือไม่ก็ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของรัสเซียแล้ว
ทำให้ปัจจุบันยูเครนเหลือปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าก่อนสงคราม ซึ่งนั่นแปลว่า...นอกจากจะหมดเงินลงทุนจำนวนมากไปกับการทำเหมือง Rare Earth แล้ว ยังมีความเป็นไปได้สูง ที่จะต้องทุ่มเงินอีกจำนวนมากสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะทางด้านพลังงานให้กับยูเครน ก่อนจะเริ่มต้นการขุดหา Rare Earth ด้วยซ้ำไป!
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ จากบทความอันแสนยาวยืด “คุณ” มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง?

You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น เมื่อสองพี่น้องต่างอุดมการณ์แตกต่างกัน จะขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรศรีสัชนาลัย สุโขทัย ...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ไขคดีใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
นาครั้งใหม่ ของภาพยนตร์อะนิเมะสืบสวนสุดเดือด “ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ 2” จาก ค่ายยักษ์ใหญ่ บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) จำกัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
