ก.เกษตรฯ ลุยจัด "มหกรรมพืชสวนโลก อุดรธานี 69" มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ดัน GDP ไทย
by Trust News, 3 มีนาคม 2568
ก.เกษตรฯ ยืนยันพร้อมลุยจัด "งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ดัน "GDP" ไทยขยายตัว พาอุดรฯ เป็นสมาร์ทซิตี้ด้านการลงทุน ท่องเที่ยวและ MICE
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมาย นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าวงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ นางวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ร่วมแถลงข่าว ถึงความพร้อมการจัด "งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569" เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2568 ที่ผ่านมา

ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า สำหรับงานครั้งนี้จัดภายใต้แนวคิด “Diversity of Life, connecting people, water and plants for sustainable living ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต : สายสัมพันธ์แห่งผู้คน สายน้ำและพืชพรรณ สู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน” พร้อมชูวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รวมพื้นที่จัดงาน 1,030ไร่ เพื่อนำความรู้แลกเปลี่ยนวิชาการและเทคโนโลยีสู่ระดับนานาชาติ โชว์ศักยภาพพืชสวนโลก โดยเฉพาะการจัดงานบนพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นครั้งแรกของโลก มุ่งสู่เป้าหมาย “เมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวและไมซ์ (MICE) ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ซึ่งตรงกับเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 10 ปีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา และวันครบรอบวันสถาปนาเมืองอุดรธานี 134 ปี โดยงานจัดขึ้นในช่วงวันที่ 1 พ.ย.2569 - 14 มี.ค.2570 ณ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ด้าน นางวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569” สิ่งที่พิเศษที่สุดที่สะท้อนถึงความโดดเด่น คือ เป็นครั้งแรกที่งานมหกรรมพืชสวนโลกจัดขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเป็นงานพืชสวนโลกบนพื้นที่ชุ่มน้ำครั้งแรกของโลก/Wet Land ณ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พื้นที่จัดงานรวม 1,030 ไร่ สำหรับการออกแบบพื้นที่และกิจกรรมแบ่งการใช้งานออกเป็นทั้งหมด 6 โซน โดยมีพื้นที่ไฮไลท์การจัดกิจกรรม ได้แก่ โซนพื้นที่ทางเข้า จุดประชาสัมพันธ์ จุดจำหน่ายบัตร ,โซนสวนนานาชาติ สำหรับการประกวดสวนนานาชาติ, โซนอาคารเรือนกระจก (Greenhouse) สำหรับการประกวดพืช และอาคารอำนวยการ (Exhibition Building) สำหรับการประกวดสวนนานาชาติในอาคาร, โซนพื้นที่จัดแสดงนวัตกรรมทางการเกษตรที่ทันสมัย รวมไปถึงแปลงรวบรวมพันธุ์ การปลูกพืชผสมผสาน, โซนสวนการเกษตรไทย และอาคารหลักต่าง ๆ, โซนสวนป่าคาร์บอนเครดิตและเรือนเพาะชำ

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า พื้นที่ไฮไลท์การจัดกิจกรรมตลอดทั้งงานทั้งหมดนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาด้านพืชสวนและสมุนไพรของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ อีกทั้งการแลกเปลี่ยน พร้อมส่งเสริมพัฒนาและต่อยอดการเกษตรในระดับนานาชาติ ทั้งทางด้านวิชาการ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุน และศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตรของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต การวิจัย และการต่อยอดไปสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ”

นางวิลาวัณย์ กล่าวอีกว่า งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569” คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานทั้งสิ้นประมาณ 3.6 ล้านคน ทำให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลจากภาคการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน รวมถึงเกิดการกระตุ้นการใช้จ่าย ตลอดช่วงระยะเวลาจัดงาน 134 วัน รายได้สะพัดกว่า 32,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีจัดกิจกรรมการประกวดออกแบบมาสคอต ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ในนามบุคคลหรือกลุ่ม ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดของโครงการฯ “ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต สายสัมพันธ์แห่งผู้คน สายน้ำ และพืชพรรณ สู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน” เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ส่งผลงานได้ตั้งแต่ 25 ก.พ. - 1 เม.ย.2568

ขณะที่ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขอฝากว่างานนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อต่อยอดงานวิจัยและการพัฒนาพืชสวนของไทย โดยมีเป้าหมายหลักในครั้งนี้ คือ สร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในท้องถิ่น ซึ่งครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร เชื่อมั่นว่าทุกภาคส่วนพร้อมร่วมมือและขับเคลื่อนในการจัดงาน มีกรอบการทำงานชัดเจน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เน้นย้ำว่าประเทศไทยยืนยันในความพร้อม และสร้างความมั่นใจให้แก่คณะกรรมการ AIPH ในการดำเนินการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานีให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และทันในการเปิดงานภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 อย่างแน่นอน”

ส่วน นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในนามจังหวัดอุดรธานี หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วนมีความพร้อมและยืนยันให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในการจัด “งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569” มีแผนการดำเนินงาน และระยะเวลาในการดำเนินงานขั้นตอนต่าง ๆ ที่ชัดเจน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีพร้อมก้าวเข้าสู่เมืองที่ยั่งยืน (Sustainable Cities) โดยมีเป้าหมายหลักคือ สร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี สร้างสังคมเข้มแข็ง สะดวก สะอาด ปลอดภัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเกษตรให้เป็นการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดอุดรธานี (ศูนย์ AIC) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อลดค่าใช้จ่าย และช่วยให้เกษตรกรคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อการต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่ในพืชสวนเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนอีกด้วย

ผู้ว่าฯ อุดรธานี กล่าวต่อว่า สำหรับจังหวัดอุดรธานีมีความพร้อมในการจัดงานในทุกด้าน โดยในด้านลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี คือ พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ป่าบุ่ง ป่าทาม” ที่มีอยู่กว่า 900 จุด รวมเป็นพื้นที่กว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ พื้นที่บริเวณรอยต่อ ระหว่างพื้นที่บกและพื้นที่น้ำ เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย และก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติมากมายในด้านการดำเนินชีวิต การหลอมรวมเป็นหนึ่งของวิถีชีวิตและธรรมชาติ ยกระดับวิถีชุมชนและถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชุมชน ต่อยอดสู่แนวคิดวิถีชีวิตสีเขียว (Green Living) ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของ “มนุษย์” ในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่มีความหลากหลายอย่างยั่งยืน

นายราชันย์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้จังหวัดอุดรธานียังมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือดอกบัวแดง และศิลปะบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง มาผสมผสานจนเกิดเป็นสัญลักษณ์ดอกบัวลายไหบ้านเชียง ซึ่งดอกบัวแดง สื่อถึงทะเลบัวแดง ที่ได้รับการจัดอันดับโดย CNN ให้เป็น 1 ใน 15 ทะเลสาบที่แปลกที่สุดในโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานีที่มีชื่อเสียงระดับโลกอีีกด้วย.
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
