แอร์บัส A330MRTT โอกาสเกิดของเครื่องบิน 3 in1 ไทยคู่ฟ้าลำใหม่ที่เป็นปั๊มลอยฟ้าได้
by Trust News, 10 มีนาคม 2568
A330 MRTT
จากที่ พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากษส เปิดเผยใน ช่วงเสวนาวิชาการในงาน 88 ปี กองทัพอากาศไทยว่า กองทัพอากาศไทย มีแผนจะกำลังจัดหาเครื่องบินแบบ (Multi Role Tanker Transport) รุ่น A330 MRTT ที่เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ของบริษัทแอร์บัส (Airbus) ที่สามารถใช้เป็นเครื่องบินโดยสารได้ด้วย โดยจะจัดหา 1 เครื่อง เป็นงบประมาณปี 2568 โดยเป็นงบฯ ของสำนักนายกฯ ที่ใช้จัดหาเครื่องบินโดยสารบุคคลสำคัญ ที่ทางสำนักนายกฯ ฝากกองทัพอากาศให้ดูแลจัดการ เพื่อทดแทนเครื่องบินโดยสารพิสัยไกลแบบแอร์บัส เอ340-500 ที่จะปลดประจำการ เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่มาก และมีการซ่อมบ่อยทำให้ไม่ค่อยพร้อมรองรับภารกิจของนายกรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญ โดย ผบ.ทอ.คาดว่า จะสามารถลงนามสัญญาเพื่อสั่งซื้อได้ในปีนี้ เพราะเป็นงบฯ2568 และจะส่งมอบเครื่องบินได้ในช่วงราวปี 2571-2572

ผบ.ทอ.ระบุว่า เครื่องบินของกองทัพอากาศ เช่น เอฟ-16 และ Gripen ด้วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติการบินได้นานขึ้น ต่อระยะในการบิน และให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรเทาทุกข์ โดยจะใส่เตียงลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉิน EMS หรือ บรรทุกสินค้าที่เป็นสิ่้งของช่วยเหลือต่างๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ ในงาน 88 ปี กองทัพอากาศไทย พล.อ.อ.พันธ์ภักดี ได้เยี่ยมชม เครื่องบินรุ่นนี้ ของ ทอ.สิงคโปร์ ที่มีประจำการ อยู่ 6 เครื่อง ด้วย โดยมีรายงานว่า งบฯต่อเครื่องอยู่ที่ราว 1.2 หมื่นล้านบาท
เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศพิสัยไกล มีผู้ผลิตกี่ราย
ในปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศในแบบที่กองทัพอากาศไทยต้องการ 2 ราย
1.แอร์บัส แอร์บัส นำเสนอ แอร์บัส A330MRTT เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศอเนกประสงค์ เป็นเครื่องบินลำตัวกว้างแบบ 2 เครื่องยนต์พัฒนามาจากเครื่องบินโดยสาร เอ330 มุ่งจับกลุ่มตลาด กองทัพอากาศที่เคยใช้งานเครื่องบินเติมน้ำมันรุ่นเก่า เช่น KC-135 และ KC-10 ติดตั้งระบบจ่ายน้ำมัน แต่ในลำตัวเครื่องส่วนห้องโดยสารสามารถดัดแปลงติดตั้งเปลสนาม และอุปกรณ์การแพทย์ หรือ เก้าอี้โดยสาร โมดูลที่นั่งโดยสารวีไอพี ได้

2.โบอิ้ง สหรัฐอเมริกา นำเสนอ KC-46A เพกาซัส เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศอเนกประสงค์ เป็นเครื่องบินลำตัวกว้างแบบ 2 เครื่องยนต์พัฒนามาจากเครื่องบินขนส่งสินค้าแบบโบอิ้ง 767 โดยมุ่งนำมาทดแทนเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงรุ่นเก่าอย่าง KC-135 สตราโตแทงก์เกอร์ ที่อายุมากกว่า 40 ปี โดยมีการออกแบบภายในเคบินสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายภารกิจ ทั้งขนส่งสินค้า ส่งกลับสายแพทย์ ขนส่งเจ้าหน้าที่บุคคลสำคัญ และเติมเชื้่อเพลิงกลางอากาศ แต่ ช่วงต้นปี 2568 KC-46A ต้องเผชิญกับปัญหาโครงสร้างมีรอยร้าว จนต้องมีการระงับบินทั้งฝูงอยู่
ทำความรู้จัก แอร์บัส A330MRTT เต็งหนึ่งในใจลูกทัพฟ้าไทย
เครื่องบิน แอร์บัส A330MRTT นี้ ถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ดัดแปลงมาจากเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้าง รุ่น A330 Neo รุ่นใหม่ ที่ปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นทั้งเทคโนโลยีการออกแบบปีก และเครื่องยนต์ ให้ดีขึ้นกว่าเครื่องบินแอร์บัส เอ330-200 รุ่นก่อนหน้านี้่ ประหยัดเชื้อเพลิงได้ 8% ทำให้ระยะการบินและน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

สามารถเติมเชื้อเพลิงให้เครื่องบินรบได้ทุกแบบ
แอร์บัส A330MRTT เพราะมีระบบจ่ายน้ำมันทั้งแบบบูม ที่เป็นแขนยาวติดท้ายเครื่อง สำหรับเสียบกับช่องรับเชื้อเพลิงของเครื่องบิน เอฟ-16 A/B และเอฟ-16 MLU อักระบบ คือ แบบ Hose and drogue ที่เป็นสายกับตะกร้าใช้เชื่อมกับท่อรับเชื้อเพลิงของ JAS-39 C/D กริพเพน โดยจะทำให้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเดินทางไกล และระยะเวลาปฏิบัติการของอากาศยานให้ยาวนานมากขึ้น
A330 MRTT มาพร้อมกับนวัตกรรมล้ำสมัย เช่น การควบคุมบูมเชื้อเพลิงด้วย fly-by-wire และระบบดิจิทัล 2D/3D ความละเอียดสูง ซึ่งช่วยเพิ่มทัศนวิสัยให้กับผู้ปฏิบัติงานเติมเชื้อเพลิง ร่วมกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) แอร์บัสได้เริ่มโครงการ SMART MRTT ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบอัตโนมัติ (A3R) ครั้งแรกของโลก โดยใช้ระบบบูม และได้รับการรับรองสำหรับการดำเนินงานในเวลากลางวันในปี 2022
ในเดือน ก.ค.2024 ที่ผ่านมา แอร์บัสได้พัฒนาต่อโดยดำเนินการทดสอบการเติมเชื้อเพลิงอัตโนมัติตอนกลางคืนมากกว่า 500 ครั้ง ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองสำหรับการดำเนินงานในเวลากลางคืนภายในต้นปีหน้า กองทัพอากาศสิงคโปร์กำลังใช้ความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงอัตโนมัติในเวลากลางวันที่เป็นนวัตกรรมของ A3R และผู้ปฏิบัติการรายอื่นๆ ก็คาดว่าจะปฏิบัติตามในอนาคต

เรื่องการบรรทุก A330 MRTT หายห่วง
เครื่องบิน A330 MRTT สามารถนำเชื้อเพลิงบินติดตัวไปได้ถึง 154,000 แกลลอน หรือ กว่า 70 ตัน โดยอัตราการสิ้นเปลืองอยู่ที่ 1,250 นอติคอลไมล์ต่อตัน ทำให้บริในระยะไกลได้สบายๆ ในด้านการบรรทุก สามารถบรรทุกสัมภาระได้ถึง 45 ตัน หรือ ราว 99,000 ปอนด์ ในลำตัวด้านบน และ 37 ตันในช่องระวางบรรทุกใต้ลำตัว ในด้านการขนส่งบุคคล A330 MRTT มีลำตัวที่กว้าง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้กว่า 300 คน โดยจัดวางโมดูลส่วนห้องโดยสารเป็นเก้าอี้แบบชั้นประหยัด หรือ จะใช้รับส่งวีไอพีก็ปรับเป็นเก้าอี้แบบชั้นธุรกิจได้ หรือ ในภารกิจบรรเทาทุกข์ รับส่งสายการแพทย์ ห้องโดยสารสามารเปลี่ยนเป็นที่วางเปลสนาม 40 เตียง เก้าอี้ จนท.การแพทย์ 20 ที่นั่ง และเก้าอี้โดยสารธรรมดาอีก 100 ตัว
ข้อมูลจำเพาะ A330 MRTT
*ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด: 111,000 กิโลกรัม (245,000 ปอนด์)
*ความจุบรรทุก: สูงสุด 45 ตัน (99,000 ปอนด์)
*ความจุผู้โดยสาร: สูงสุด 300 คน
*ระยะทางบิน: สูงสุด 8,700 ไมล์ทะเล (16,000 กิโลเมตร)
*ความเร็วสูงสุด 880 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วครุยส์ที่ 860 กม./ชม.
*เพดานบินสูงสุด 42,700 ฟุต
*เครื่องยนต์: Rolls-Royce Trent 772B

ข้อเสนอออฟเซตต่อการจัดซื้อ
ขณะนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา
ความเห็นของบรรณาธิการ
หากการจัดซื้อเครื่องบิน A330 MRTT เกิดขึ้นจริง ก็ถือว่ากองทัพอากาศเลือกได้ดี เพราะเป็นเครื่องบินที่ทำหน้าที่ได้หลายภารกิจ อีกทั้งยังมีความทันสมัย ทั้งในส่วนเครื่องบิน ระบบควบคุม และเครื่องยนต์ ที่ใช้เพียง 2 เครื่องยนต์ ประหยัดมากกว่า แอร์บัส เอ340-500 รุ่นเก่า ที่มี 4 เครื่องยนต์ เพราะกินเชื้อเพิงน้อยกว่า อีกทั้ง A330 MRTT ยังสามารถเติมเชื้อเพลิง SAF เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 80% พิสัยการบินที่ไกล ตอบสนองความต้องการของกองทัพอากาศได้
ทั้งนี้การจัดซื้อนอกจากจะจัดหาตัวเครื่องบิน เครื่องยนต์และอะไหล่ แล้ว กองทัพอากาศต้องซื้อ โมดูลโดยสารแบบ VVIP เพื่อรองรับภารกิจรับส่งบุคคลสำคัญ ขณะที่ การซ่อมบำรุง สามารถใช้บริการกับฝ่ายช่างการบินไทยได้ เพราะมีแอร์บัส เอ330-300 ใช้งานเหมือนกัน คงเหลือแต่ข้อเสนอออฟเซต ที่ต้องรอดูว่ากองทัพอากาศจะเรียกร้องจากแอร์บัสเพื่อให้ได้อะไรบ้าง...
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
