วันเสาร์, พฤษภาคม 3, 2568

ประกาศ "ซากุระเมืองไทย" หรือ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นพืชควบคุมภายใต้อนุสัญญาไซเตส

by Trust News, 14 มีนาคม 2568

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุ ไม้ต้นกลุ่มชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือ ที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย ปัจจุบันเป็นพืชควบคุมภายใต้อนุสัญญาไซเตส ควบคุมการใช้งานแปรรูป แต่ในไทยใช้เป็นไม้ประดับมากกว่า หากมีการนำเข้าและส่งออกต้องได้รับหนังสืออนุญาต (CITES Permit)

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาไซเตส หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและ
พืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพืช เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย
ที่รับผิดชอบด้าน การวิจัย การควบคุม และการกำกับดูแลพืชที่อยู่ภายใต้อนุสัญญานี้ โดยมีสำนักคุ้มครองพันธุ์พืชรับผิดชอบในการกำกับดูแล ซึ่งตัวอย่างพืชที่อยู่ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสบัญชีที่ 2ได้แก่หม้อข้าวหม้อแกงลิง และกฤษณา โดยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือที่ได้รับการขนานนามว่า "ซากุระเมืองไทย" ได้ถูกเสนอให้บรรจุไว้ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส บัญชีที่ 2 ภายใต้ การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่มีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์พืชป่าและสัตว์ป่าไม่ให้ สูญพันธุ์จากการค้าระหว่างประเทศ

 

 

ไม้ต้นกลุ่มชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือ ตะเบบูย่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกไปจนถึงเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศเอลซัลวาดอร์ นอกจากคุณค่าทางด้านไม้ประดับแล้ว ไม้ตระกูลนี้ยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมไม้ เช่น งานก่อสร้าง ทำพื้นระเบียง และเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้มีการตัดไม้เพิ่มขึ้นจนทำให้ไม้กลุ่มนี้มีสถานะใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น

 

 

นายรพีภัทร์ กล่าวต่อว่า ในการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 19 ณ ประเทศปานามา ประเทศโคลอมเบีย สหภาพยุโรป และปานามา จึงได้เสนอให้บรรจุไม้ตระกูลตะเบบูย่า 3 สกุล ได้แก่ Handroanthus, Roseodendron และ Tabebuia รวมจำนวน 113 ชนิด ไว้ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส บัญชีที่ 2 เพื่อควบคุมการค้าไม้ในลักษณะไม้ท่อน ไม้แปรรูป แผ่นไม้บาง ไม้อัด และไม้ที่เปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลให้ไม้ตระกูลตะเบบูย่าอยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

 

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงไม้ต้นกลุ่มชมพูพันธุ์ทิพย์ในประเทศไทยว่า ประเทศไทยได้นำไม้ต้นในกลุ่มนี้เข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ หลายชนิด โดยชนิดที่ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ชมพูพันธุ์ทิพย์ ซึ่งหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ได้นำเข้ามาประมาณปี พ.ศ. 2490 นอกจากนี้ยังมี เหลืองปรีดียาธร ซึ่งตั้งชื่อตามหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล และเหลืองอินเดีย จัดอยู่ในสกุล Tabebuia แต่ภายหลังจากการศึกษาด้านความสัมพันธ์ทางโมเลกุล นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็น 3 สกุลดังกล่าว

 

"โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นริมถนน สวนสาธารณะ หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ ทั้งนี้แม้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์อยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส แต่ประเทศไทยไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากเนื้อไม้ของต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ไม้ตระกูลนี้ถูกบรรจุในบัญชีแนบท้ายของอนุสัญญาไซเตส" นายรพีภัทร์ กล่าว

 

 

อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศภาคีของอนุสัญญาไซเตสไทยยังคงมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ ในการควบคุมและกำกับดูแลการค้าไม้กลุ่มนี้ โดยต้องดำเนินการออกหนังสืออนุญาต (CITES Permit) เพื่อใช้ประกอบการนำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันการลักลอบค้าไม้ที่อาจส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชในระดับสากล.


You might be intertested in this news.

Mostview

โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"

จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม

แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...

ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์

สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค

ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)

ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ

การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า

การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย

TrustNEws Line