วันศุกร์, พฤษภาคม 23, 2568

ไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) พลังงานทางเลือกสู้โลกร้อน

by Trust News, 22 พฤษภาคม 2568

นักวิเคราะห์จาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย แนะเทรนด์พลังงานแห่งอนาคต สู้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR ที่ปัจจุบันขนาดเล็กลงมาก ลดข้อจำกัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยุคเก่า แต่ผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทวิเคราะห์โดยนายสุปรีย์ ศรีสำราญ และ นายพงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ นักวิเคราะห์จาก บมจ.ธนาคารกรุงไทย

กระแสการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ภาคพลังงานโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green house gas) ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนถึงราว 30% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยทั้งหมดทั่วโลก1 ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกตั้งเป้า ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม และน้ำมากขึ้น

อย่างไรก็ดี พลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดด้านเสถียรภาพของพลังงานที่ไม่สามารถทำการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอดเวลา หนึ่งทางเลือกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงมากขึ้นคือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งสามารถสร้างไฟฟ้าได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าที่น้อย

แต่เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และใช้เงินลงทุนสูง ในช่วงที่ผ่านมาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล (Small Modular Reactor: SMR) ซึ่งสามารถลดข้อจำกัดเหล่านี้ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิมได้ จึงถูกพัฒนามากขึ้น 


รู้จักกับโรงไฟฟ้า SMR

เจ้า SMR หรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล (Small Modular Reactor) เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก แยกเป็นหน่วยย่อยที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างอิสระภายในหน่วยย่อยเดียว SMR มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดถึง 300 MW ต่อหน่วย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบดั้งเดิม

หลักการทำงานของ SMR เป็นแบบพลังงานนิวเคลียร์ประเภทฟิชชั่น (Nuclear Fission) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีแตกตัวเป็นนิวเคลียสที่เล็กลง ทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานในรูปพลังงานความร้อนปริมาณมากออกมา ซึ่งความร้อนนี้สามารถนำไปใช้ทำให้สารหล่อเย็น เช่น น้ำกลายเป็นไอน้ำ เพื่อใช้ขับเคลื่อนกังหันใบพัด หรือ เทอร์ไบน์ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อไป โดย SMR จะถูกผลิตจากโรงงานในรูปแบบโมดูลและขนส่งไปติดตั้งยังสถานที่ปลายทางที่ต้องการ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม แตกต่างอย่างไร

ถึงแม้ว่า SMR มีกำลังการผลิตน้อยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม แต่การพัฒนา SMR มีความสะดวกกว่ามากทั้งในแง่พื้นที่โรงไฟฟ้า การก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงปริมาณกากกัมตรังสีที่น้อยกว่าอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาSMR น้อยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม SMR ถูกออกแบบให้เป็นหน่วยย่อย (โมดูล) จึงสามารถแยกผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จากสถานที่อื่นแล้วนำมาติดตั้งที่โรงงานไฟฟ้าภายหลังได้ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ อีกทั้งยังสามารถขยายกำลังการผลิตได้ในอนาคตจากการเพิ่มหน่วยย่อย นอกจากนี้ ด้วยขนาดที่เล็กกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม ทำให้โรงไฟฟ้า SMR มีความร้อนในระบบและกากกัมตรังสีที่น้อยกว่า ทำให้ควบคุมการทำงานได้สะดวกกว่าด้วย

ประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR

สำหรับโรงไฟฟ้า SMR โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่
1.Land-Based Water-Cooled SMRs
2.Marine-Based SMRs
3.Gas-Cooled SMRs
4.Liquid Metal-Cooled SMRs
5.Molten Salt SMRs
6.Microreactor SMRs

แต่ละประเภทเป็นการแยกประเภทตามคุณสมบัติหลักและเทคโนโลยี เช่น การใช้สารหล่อเย็น ที่มีความแตกต่างกัน เช่น น้ำ ฮีเลียม โลหะเหลว ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่แตกต่างกัน


นอกจากนี้ ยังรวมถึงลักษณะการติดตั้ง เช่น บนบก บนแพลอยน้ำ หรือ SMR บางประเภทที่มีขนาดเล็กจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลถึงการลงทุน SMR ในแต่ละประเภท เช่น การลงทุนใน Land-Based Water-Cooled SMRs ซึ่งใช้น้ำระบายความร้อนและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพียง 4-6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์ ซึ่งต่ำกว่าการลงทุนใน Microreactor SMRs ที่ใช้ฮีเลียม เกลือหลอมเหลว และสามารถย้ายที่ตั้งได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูงถึง 10-15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์

ความพร้อมด้านเทคโนโลยีของ SMR แต่ละประเภท

นักวิอเคราะห์ของธนาคารกรุงไทยมองว่า หากพิจารณาระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL) ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) แต่ละประเภท จะพบว่า Marine Based Water-Cooled SMRs กับ Land-Based Water-Cooled SMRs และ Gas-Cooled SMRs ถูกพัฒนาในระดับที่สามารถนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง (TRL: 8-9)  ขณะที่ Liquid Metal-Cooled Fast Neutron SMRs และ Microreactor SMRs ถูกพัฒนาในระดับที่ทดสอบต้นแบบ (Prototype) ในห้องปฏิบัติการที่มีความละเอียดสูง (TRL: 6) นอกจากนั้น Liquid Metal-Cooled Fast Neutron SMRs และ Microreactor SMRs คาดว่าจะถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง (TRL: 8-9) ในปี 2569 และ 2572 ตามลำดับ

สำหรับ Molten Salt SMRs ถูกพัฒนาในระดับที่แนวความคิดของเทคโนโลยีได้ผ่านการพิสูจน์และผลมีจากการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ (TRL: 4-5) และคาดว่าสามารถถูกนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง (TRL: 8-9) ในช่วงปี 2573-78 ตามลำดับ


สถานการณ์ปัจจุบัน ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กทั่วโลก
ปัจจุบัน มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) 2 แห่ง ที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ไปแล้ว ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 270 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น Marine-Based Water-Cooled SMRs ในรัสเซีย ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 70 เมกะวัตต์ และ Gas-Cooled SMRs ในจีน ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์

นอกจากนั้น ยังมีโรงไฟฟ้า SMR ที่กำลัง ถูกก่อสร้างอีก 4 แห่ง ทั้งในรูปแบบ Pilot Demonstration (TRL:7) และรูปแบบที่สามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง (TRL:8-9) ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 485 เมกะวัตต์ 5 โดยคาดว่า Land-Based Water-Cooled SMRs ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าราว 125 เมกะวัตต์ ในจีน และ Liquid Metal-Cooled Fast Neutron SMRs ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าราว 300 เมกะวัตต์ ในรัสเซีย จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 25695

ขณะที่ Molten Salt SMRs ในรูปแบบ Pilot Demonstration ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าราว 35 เมกะวัตต์ ในสหรัฐฯ มีแผนที่จะเปิดให้บริการในปี 2570 นอกจากนั้น Land-Based Water-Cooled SMRs ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าราว 25 เมกะวัตต์ ในอาร์เจนติน่า มีแผนที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2571

ประเทศไทยกับโรงไฟฟ้า SMR

ส่วน ประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐของไทยก็กำลังศึกษาเทคโนโลยี SMR เพื่อเตรียมการออกข้อกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการกำกับดูแล โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็ศึกษาเรื่องนี้ เพราะถือเป็นหนึ่งในด้านพลังงานที่มาเพื่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ในแง่ความมั่นคงทางพลังงาน และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไอที และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเฉพาะการใช้ SMR เพื่อผลิตไฟฟ้าสีเขียว 

ทางศูนย์ฯ ได้มีการทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลยร์ขนาดเล็ก หรือ SMR เครื่องเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เฉพาะพื้นที่ ที่เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างช่วงเวลาที่ไทยต้องเดินหน้าสู่ NetZero ทางศูนย์ก็ดำเนินการส่วนนี้ไปด้วย ขณะนี้ SMR เป็นการพัฒนาออกแบบมายุคที่ 5 ปลอดภัยมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบเก่า อุณหภูมิจะไม่สูง ขนาดที่เล็กหากเกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายจะเป็นวงจำกัดภายในอาคาร 

 

ในด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ประเทศไทยเราอยู่ระหว่างรอดูผลการใช้งานจากต่างประเทศก่อน ที่ในตอนนี้มี 2 ประเทศเริ่มใช้ไปแล้วโดยเทคโนโลยีนี้มีผู้ผลิต SMR ที่น่าจับตา 2 ชาติ คือ จีนและสหรัฐอเมริกา เราดูอย่างใกล้ชิดและคำนึงเรื่องความปลอดภัย แต่การเอามาใช้ในระยะแรกต้นทุนจะสูงกว่า เพราะเป็นการเริ่มใช้งานโรงไฟฟ้าครั้งแรก แต่หากใช้งานเรื่อยๆ ก็จะถูก และการที่ดาต้าเซ็นเตอร์อยากได้ไฟฟ้าเขียว นี่ก็เป็นอีกโซลูชั่นหนึ่งสำหรับ การใช้ไฟฟ้าสีเขียว เพราะโซลูชั่นนี้ สามารถติดตามนิคมอุตสาหกรรมได้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด.


You might be intertested in this news.

Mostview

จากเด็กเลี้ยงควาย สู่สายลับวัดไร่ขิง รู้จัก ร.ต.อ.นิติธร ประชันกาญจนา

จากเด็กเลี้ยงควาย สู่สายลับวัดไร่ขิง ร.ต.อ.นิติธร ประชันกาญจนา” เคยเป็นนักกีฬาแม่นปืนทีมชาติไทย เคยคลี่คลายคดีสำคัญๆ จนเคยได้รับฉายา “ตำรวจเหล็กแห่งกองปราบ”

ระเบิดนิวเคลียร์ B61-13 รุ่นล่าสุดของสหรัฐฯ ประกอบเสร็จออกจากโรงงานแล้ว

รมว.กระทรวงพลังงานของสหรัฐ และ NNSA ประกาศว่า ลูกระเบิดนิวเคลียร์ B61-13 รุ่นล่าสุด ประกอบเสร็จสิ้นและออกจากโรงงานที่เท็กซัสแล้ว เร็วกว่ากำหนดเกือบ 1 ปี หลังประกาศการพัฒนาเมื่อปี 2023 โดยเป็นแผนการปรับปรุงอาวุธนิวเคลียร์เก่าให้มีประสิทธิภาพ

ทอ.เตรียมแถลงจัดซื้อ กริพเพน E/F จากสวีเดนพร้อม Offset Policy ที่อาจมี Meteor

ทอ.ประชุมเตรียมงานแถลง "โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน" โดยมีรายงานว่า คือ กริพเพน รุ่น E/F จาก SAAB สวีเดน พร้อม Offset Policy แบบจัดเต็ม คาดจะมีอาวุธเด็ด BVRAAM แบบ Meteor มาให้ ทอ.ไทยด้วย

House of Dancing Water คืนเวที City of Dreams Macau

“House of Dancing Water” กลับมาเปิดการแสดงยิ่งใหญ่ ณ City of Dreams Macau ....

Final Destination Bloodlines กลับมาทวงความตายจากผู้หนีตาย!

Final Destination Bloodlines กลับมาทวงความตายจากผู้หนีตาย! ผลงานตอนใหม่จากแฟรนไชส์เลือดสาดที่สร้างความสำเร็จให้นิวไลน์ ซีเนม่า...

TrustNEws Line