การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
by Trust News, 28 เมษายน 2568
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท Kansas Modification Center, LLC. (KMC) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อดำเนินธุรกิจดัดแปลงอากาศยานโดยสาร แบบโบอิ้ง 777-300ER เป็นอากาศยานขนส่งสินค้า (Passenger-to-Freighter, P2F) โดยมี นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ และ Mr. James Allen Gibbs ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท KMC ร่วมลงนาม พร้อมด้วย นายเชิดพันธ์ โชติคุณ ประธานเจ้าหน้าที่สายช่าง บริษัทฯ และ นายบอง ชุล พัค ประธาน บริษัท KMC ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักงานใหญ่ การบินไทย ถนนวิภาวดีรังสิต

บริษัท KMC ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมดัดแปลงอากาศยาน สำหรับโบอิ้ง 777-300ER ในฐานะผู้บุกเบิกเทคนิคการดัดแปลงรูปแบบประตูสินค้าอยู่บริเวณลำตัวส่วนหน้า (Forward Cargo Modification) ซึ่งแตกต่างจากมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เน้นรูปแบบประตูสินค้าอยู่บริเวณลำตัวส่วนท้าย ส่งผลให้เครื่องบินมีประสิทธิภาพเชิงน้ำหนัก (Weight Efficiency) ที่สูงกว่า เหมาะสมสำหรับการขนส่งสินค้าระยะไกล
ความร่วมมือครั้งนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ของประเทศใน 3 มิติหลัก ได้แก่
1. เสริมสมรรถนะทางเทคโนโลยี : ถ่ายทอดองค์ความรู้ (Technology-Transfer) การดัดแปลงเครื่องบิน P2F จากผู้เชี่ยวชาญสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ยาก
2. พัฒนาห่วงโซ่อุปทานการบิน : สร้างระบบนิเวศการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อสนับสนุนการดัดแปลงเครื่องบิน P2F ภายใต้ลิขสิทธิ์จาก บริษัท KMC และบริษัทพันธมิตรของ KMC
3. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ : สร้างตำแหน่งงานคุณภาพในอุตสาหกรรมการบินกว่า 500 ตำแหน่ง

นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร การบินไทย กล่าวว่า การร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการบินไทย และของประเทศไทยในการขยายศักยภาพด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน เสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ด้านการดัดแปลงอากาศยานซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ยาก รวมถึงยังเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ยังเป็นก้าวที่สำคัญของประเทศไทย ในการยกระดับอุตสาหกรรมการบินให้มีความครบวงจร สร้างรายได้ให้กับหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมซ่อมบำรุง อากาศยาน ตั้งแต่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ จนถึงอุตสาหกรรมดัดแปลง อากาศยานซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ อีกทั้งยังช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสนับสนุนยุทธศาสตร์ของชาติในการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค รวมถึงยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศไทย และยังมีส่วนช่วยสร้างงานกว่า 500 ตำแหน่งให้กับอุตสาหกรรมการบินในประเทศอีกด้วย

ด้าน นายบอง ชุล พัค ประธาน บริษัท KMC กล่าวว่า ความร่วมมือกับการบินไทยในครั้งนี้ นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของ KMC เนื่องจากเราได้นำความสามารถในการปรับปรุงเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรก เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับการบินไทยในการจัดทำโครงการปรับปรุงเครื่องบินขนส่งสินค้าชั้นนำ ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมประตูห้องบรรทุกสินค้าด้านหน้าของเราเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนวิสัยทัศน์การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคที่กว้างไกลขึ้นอีกด้วย
ประธาน บริษัท KMC กล่าวต่อว่า การผสมผสานความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของเราเข้ากับทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยและโครงสร้างพื้นฐานด้าน MRO ที่กำลังเติบโต เรามั่นใจว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะสร้างมาตรฐานใหม่ด้านการปรับปรุงเครื่องบิน นอกจากนี้ ความคิดริเริ่มนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการถ่ายทอดความรู้และการพัฒนากำลังคน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นและตอกย้ำสถานะของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินแห่งใหม่

โครงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อดำเนินธุรกิจดัดแปลงอากาศยานโดยสาร แบบโบอิ้ง 777-300ER เป็นอากาศยานขนส่งสินค้า (Passenger-to-Freighter, P2F) มีแผนดำเนินการดัดแปลง ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานดอนเมือง และพื้นที่บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการดัดแปลงอากาศยาน สำหรับโบอิ้ง 777-300ER แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความร่วมมือดังกล่าว จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศไทย รวมถึงต่อยอดยุทธศาสตร์ชาติในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ในภูมิภาค
สำหรับ เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-300ER เครื่องบินโดยสารแบบลำตัวกว้าง สองทางเดิน มี 2 เครื่องยนต์ การบินไทยซื้อจัดหามาอยู่ในฝูงบินเมื่อช่วงปี 2557-2558 มีที่นั่งทั้งหมด 348 ที่นั่ง เป็นชั้นธุรกิจ 42 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 306 ที่นั่ง นับเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการบรรทุกและพิสัยการบินไกล อีกทั้งยังใช้เครื่องยนต์ตระกูล General Electric GE90 ที่ทรงพลังมากที่สุด สำหรับเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ นับเป็นม้างานที่สำคัญของการบินไทยในเส้นทางยุโรปและเอเชีย.
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น เมื่อสองพี่น้องต่างอุดมการณ์แตกต่างกัน จะขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรศรีสัชนาลัย สุโขทัย ...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ไขคดีใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
นาครั้งใหม่ ของภาพยนตร์อะนิเมะสืบสวนสุดเดือด “ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ 2” จาก ค่ายยักษ์ใหญ่ บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) จำกัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
