ENTEC โชว์พลังงานวิจัยระบบนิเวศทางพลังงาน นวัตกรรมรับมือ Climate Change
by Trust News, 15 พฤษภาคม 2568
ENTEC เผย งานวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงานตลอด 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฮโดรเจน โซลาร์เซลล์ โอเลโอเคมีภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์สีเขียว ระบบกักเก็บพลังงาน การประยุกต์ใช้แบตเตอรี ไปจนถึงไฟฟ้าสีเขียวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก

ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า เอ็นเทค สวทช. มีความสำคัญต่อระบบพลังงานของประเทศไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะภารกิจการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน โดย เอ็นเทค สวทช. สนับสนุนนโยบายพลังงานโดยดำเนินงานตามแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศไทย (TIEB) โดยการสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตลอดจนบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงานไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จริง

“เอ็นเทค สวทช. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ปี 2563 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะศูนย์เทคโนโลยีแห่งชาติ ลำดับที่ 5 ภายใต้ สวทช. โดยมีพันธกิจหลักในการเป็นองค์กรผู้นำและศูนย์รวมแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานของประเทศ มุ่งเน้นการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสนับสนุนแผนพลังงานชาติ เป็นกำลังสำคัญในการ 'สร้าง' และ 'เชื่อมโยง' นวัตกรรมพลังงานของประเทศไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยีพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความยั่งยืน

ผู้อำนวยการเอ็นเทค สวทช. กล่าวต่อว่า ภารกิจหลักด้านการวิจัยของเอ็นเทค สวทช. ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องแล็บ แต่เป็นการ 'บ่มเพาะ' เทคโนโลยีพลังงานใหม่ ๆ ที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่ยั่งยืนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีผลงานวิจัยที่โดดเด่นหลายด้าน ได้แก่

เทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและการบูรณาการระบบ : เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยเทคโนโลยีการผลิต "ไฮโดรเจนชีวภาพหรือไฮโดรเจนสีเขียว" ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาและต่อยอดสู่การใช้งานจริงร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและคมนาคมขนส่งให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น แนวทางประเมิน ASEAN Energy Resilience Assessment Guideline และการประเมินโซลาร์ฟาร์มบนระบบขนส่งสาธารณะ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเพื่อความยั่งยืน หรือ SAF ที่มีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการบิน เราเริ่มเห็นหลายโรงกลั่นน้ำมันกำลังเดินหน้าเริ่มผลิตขายในไทย แต่มีประเด็นเรื่อง วัตถุดิบที่นำมาผลิตที่ทางศูนย์ก็ได้เข้าไปให้คำแนะนำ
รวมทั้งพลังงานไฟฟ้าสีเขียวสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีไอที และดาต้าเซ็นเตอร์ ทางศูนย์ฯ การทำความเข้าใจกับประชาชนถึงการใช้งาน โรงไฟฟ้านิวเคลยร์ขนาดย่อม หรือ SMR เครื่องเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เฉพาะพื้นที่ ที่เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างช่วงเวลาที่ไทยต้องเดินหน้าสู่ NetZero ทางศูนย์ก็ดำเนินการส่วนนี้ไปด้วย ขณะนี้ SMR เป็นการพัฒนาออกแบบมายุคที่ 5 ปลอดภัยมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบเก่า อุณหภูมิจะไม่สูง ขนาดที่เล็กหากเกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายจะเป็นวงจำกัดภายในอาคาร

ในด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดย่อม SMR สำหรับประเทศไทยเราอยู่ระหว่างรอดูผลการใช้งานจากต่างประเทศก่อน ที่ในตอนนี้มี 2 ประเทศเริ่มใช้ไปแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้มีผู้ผลิตที่น่าจับตา 2 ชาติ คือ จีนและสหรัฐออเมริกา เราดูอย่างใกล้ชิดและคำนึงเรื่องความปลอดภัย แต่การเอามาใช้ในระยะแรกต้นทุนจะสูงกว่า เพราะเป็นการเริ่มใช้งานโรงไฟฟ้าครั้งแรก แต่หากใช้งานเรื่อยๆ ก็จะถูก และการที่ดาต้าเซ็นเตอร์อยากได้ไฟฟ้าเขียว นี่ก็เป็นอีกโซลูชั่นหนึ่งสำหรับ การใช้ไฟฟ้าสีเขียว เพราะโซลูชั่นนี้ สามารถติดตามนิคมอุตสาหกรรมได้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

นวัตกรรมโอเลโอเคมีภัณฑ์และเคมีภัณฑ์สีเขียว: เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ด้วยผลงานอย่าง "Eco-Pest" สารเสริมประสิทธิภาพการเกษตรจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ที่ช่วยลดการใช้สารเคมี ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และ "น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน" ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ ลดการนำเข้าปิโตรเลียม และอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย รวมทั้งน้ำมันชีวภาพสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ปลอดภัย ไม่ติดไฟง่าย ลดปัญหาการเกิดเพลิงไหม้จากหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด รวมทั้ง ยาฆ่าแมลงชีวภาพ ที่เป็นสารสำหรับกำจัดเพลี้ยและแมลงหวี่ขาว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อเกษตรกร

ด้านเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ : สนับสนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง ด้วยนวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ "Solar Sure" แพลตฟอร์มตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ (Second-life) ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดการซากอย่างถูกวิธี ซึ่งอยู่ระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พิจารณากำหนดมาตรฐาน และ "SEESOLAR" โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร ที่ลดรังสี UV-B และความร้อน แต่ยังให้การแผ่รังสีแสงสังเคราะห์ หรือแสง PAR ผ่านได้ดี ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและอาจมีสารสำคัญสูงขึ้น อีกทั้งผลิตไฟฟ้าสำหรับควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือน และเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนพลังงานให้ภาคเกษตรกรรม

ด้านนวัตกรรมห่วงโซ่คุณค่าของแบตเตอรี่ : ตอบโจทย์การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ ที่ทำให้ใช้พลังงานได้อย่างเสถียร โดย ENTEC มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาแบตเตอรี่แบบครบวงจร ทั้งกระบวนการรีไซเคิล จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมายานยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาขายในไทยมากมาย แต่หากใช้ไปสักพักแบตเตอรี่รถไฟฟ้าจากจีนเหล่านี้จะเสื่อมสภาพต้องเปลี่ยนลูกใหม่ คำถามคือ แล้วไทยจะจัดการกับแบตเตอรี่ อีวีเก่าๆ อย่างไร ทางศูนย์ฯ นำมาเกิดใหม่ เป็นแบตเตอรี่เพื่อการเกษตร หรือ แบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ตามบัานพักอาศัย ก่อนที่จะเสื่อมสภาพถาวรต้องเอาไปรีไซเคิล

ที่ผ่านมาทางศูนย์ฯ เป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน "Thailand BattSwap" ภายใต้ Thailand Standard Swappable Battery Consortium เพื่อสร้างมาตรฐานกลางของแบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนได้สำหรับ EV ขนาดเล็กทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) และได้ริเริ่มพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่มีความจุสูง อายุการใช้งานยาวนาน และปลอดภัยสูง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

ดร.สุมิตรา กล่าวด้วยว่า ENTEC จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้งานจริง สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่ยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เร่งสร้างงานวิจัยให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์และบริการจริง สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อ 'สร้างผลกระทบ' ต่อระบบนิเวศนวัตกรรมพลังงานไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง.
You might be intertested in this news.
Mostview
แรงกระแทก “สีกากอล์ฟ” นารีพิฆาตพระ กับขบวนการทำลายพุทธศาสนา มีจริงไหม..? (ชมคลิป)
ปกติแล้ว เมื่อพระเจอ “นารีพิฆาต” จะมาในรูปแบบบุคคลกับบุคคล แต่กรณี “สีกากอล์ฟ” นั้น กลับไม่ใช่ เรียกว่า ทำให้คณะสงฆ์สมณศักดิ์หลายรูป โดยเฉพาะชั้น "เทพ" ต้องสละผ้าเหลือง เพราะแบบนี้ จึงถูกตั้งคำถามว่า จะเกี่ยวข้องกับ "ขบวนการทำลายพุทธศาสนา" หรือไม่...
อะไรคืออุปสรรค ที่ แมนยูฯ ของ อเลฮานโดร การ์นาโช่ (ชมคลิป)
อะไรคืออุปสรรค ที่ แมนยูฯ ของ อเลฮานโดร การ์นาโช่ (ชมคลิป)
แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (16ก.ค.68) ทยอยซื้อสะสม
แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (16ก.ค.68) ทยอยซื้อสะสม
แนวโน้มตลาดวันนี้ (14ก.ค.68) ความกังวลภาษียังกดดัน
แนวโน้มตลาดวันนี้ (14ก.ค.68) ความกังวลภาษียังกดดัน
แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (14ก.ค.68) หาจังหวะขายทํากําไร
แนวโน้มราคาทองคําวันนี้ (14ก.ค.68) หาจังหวะขายทํากําไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
