3 กลยุทธ์แชร์ลูกโซ่ประวัติศาสตร์โลก
by Trust News, 3 กุมภาพันธ์ 2568
หลังธุรกิจที่ส่อเค้าว่าอาจจะเป็น “แชร์ลูกโซ่เหล่าบอสคนดัง” ยึดพื้นที่ข่าวในประเทศไทยไปเสียจนหมด วันนี้ OUTFIELD MAN สำนักข่าว TRUST NEWS จะขอพา “คุณ” ไปย้อนดูการฉ้อฉลด้วยกลวิธีแชร์ลูกโซ่ในพื้นที่อื่นๆบนโลกใบนี้กันบ้างว่า มันมีระดับของความเสียหายอันน่าตะลึงมากเพียงใด เพื่อที่จะได้ท่องจำเอาไว้ในใจอยู่เสมอๆว่า “เราจะต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของคำลวงที่หอมหวานเหล่านั้นได้โดยง่ายอีกต่อไป”
1.Madoff Investment Securities :
มูลค่าความเสียหาย : 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.1ล้านล้านบาท)
แชร์ลูกโซ่ที่มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากชายที่มีชื่อว่า "เบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์" (Bernard Madoff) หนึ่งในผู้ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ และได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในฐานะ “ผู้ใจบุญ” เนื่องจากมีการบริจาคเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับองค์กรการกุศลต่างๆ
ปี 1960 “Bernard Madoff” ก่อตั้งบริษัทด้านการลงทุนที่มีชื่อว่า “Madoff Investment Securities” โดยบริษัทดังกล่าวติดอันดับ 1 ใน 25 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดด้านการลงทุนและมีการจ่ายค่าตอบแทนมหาศาลให้กับบรรดาบนักลงทุนอย่างต่อเนื่องได้ถึง 12% ต่อปี จนกระทั่งได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูงจากบรรดาเซเลปและนักลงทุนในวอลสตรีท
โดย Bernard Madoff มักจะกล่าวอ้างกับบรรดานักลงทุนอยู่เสมอๆว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Madoff Investment Securities สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้อย่างงดงามเช่นนี้ เป็นเพราะ... “มีข้อมูลวงใน”
อย่างไรก็ดี 40 ปี ต่อมา... ทุกอย่างก็เดินทางมาถึงจุดจบ เพราะแท้ที่จริงแล้ว Bernard Madoff ใช้วิธีจ่ายเงินให้กับนักลงทุนเก่า ด้วยเงินจากนักลงทุนรายใหม่ หรือนั่นก็คือรูปแบบของ “แชร์ลูกโซ่” หรือ “Pyramid Scheme” และผู้ที่เป็นคนเปิดเผยเรื่องอื้อฉาวและนำข้อมูลทั้งหมดไปให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ก็คือ ลูกชายของเขาเอง! เสียด้วย
ทั้งนี้ การฉ้อฉลครั้งประวัติศาสตร์นี้ มีนักลงทุนที่ตกเป็นเหยื่อมากถึง 3 ล้านคน และคิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากมายถึง 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.1ล้านล้านบาท!
2.MMM :
มูลค่าความเสียหาย : 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (66,468ล้านบาท)
MMM หรือ แชร์ลูกโซ่วงใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและมีผู้ได้รับผลกระทบหลายล้านคน มีจุดเริ่มต้นในปี 1989 จากชายที่มีชื่อว่า "เซอร์เก มาฟโรดี" (Sergei Mavrodi) ชาวรัสเซีย ซึ่งได้ร่วมมือกับน้องชายและภรรยา ก่อตั้งบริษัทเล็กๆที่มีชื่อว่า MMM เพื่อจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานทั่วอดีตสหภาพโซเวียด จนกระทั่งธุรกิจประสบความสำเร็จและกลายเป็นผู้นำตลาดในช่วงต้นยุค 90
อย่างก็ดี หลังมีการปรับขนาดธุรกิจ จนกระทั่งทำให้บริษัทประสบปัญหาทางด้านกฎหมาย และถูกตั้งข้อหาหลบเลี่ยงภาษี จนธุรกิจได้รับผลกระทบ "เซอร์เก มาฟโรดี" จึงตัดสินใจเบนเข็มไปการลงทุนไปสู่ภาคการเงินแทน
ในช่วงแรก “Sergei Mavrodi” พยายามขายหุ้น MMM ให้กับนักลงทุนอเมริกันแต่ด้วยเพราะธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ จึงไม่ได้รับความไว้วางใจบรรดาลงทุนรายใด เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาจึงตัดสินใจออกหุ้นกู้ ในราคา 1,000 รูเบิ้ลต่อหุ้น เพื่อระดมทุนจากประชาชนในปี 1994
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนแห่นำเงินมาลงทุนกับ MMM ก็คือ การระดมออกแคมเปญโฆษณาทางทีวี ซึ่งมีสโลแกนสุดปลุกเร้าที่ว่า “to day it is more expensive than yesterday” เพื่อให้สอดคล้องกับโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า MMM สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่สูงถึง 1,000% ต่อปี!
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงบริษัทไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลปัจจัยพื้นฐานใดๆ มารองรับการโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าวได้เลยก็ตาม
ยิ่งไปกว่านั้น “Sergei Mavrodi” ยังเป็นคนที่กำหนดมูลค่าหุ้น MMM ด้วยตัวเอง โดยมีการประกาศราคาใหม่ สำหรับการซื้อ-ขาย เป็นการส่วนตัวถึงสัปดาห์ละ 2 ครั้งอีกด้วย จนเป็นผลให้มูลค่าหุ้นของ MMM กระโดดเพิ่มขึ้นถึง 127 เท่า ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น!
หากแต่ “Sergei Mavrodi” ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น ในช่วงต้นปี 1994 เขายังโหมโฆษณาชวนเชื่อต่อไป ด้วยการประกาศว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเพิ่มเป็น 3,000% ต่อปีอีกด้วย!
อย่างไรก็ดี การปลุกปั่นที่ไร้ซึ่งปัจจัยพื้นฐานใดๆมารองรับ ก็เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดเช่นเดิม เพราะเมื่อเริ่มไม่สามารถหาเงิน จากนักลงทุนใหม่ๆมาจ่ายให้กับนักลงทุนเก่าได้
ในวันที่ 27ก.ค.1994 จู่ๆ “Sergei Mavrodi” ก็ประกาศลดมูลค่าหุ้นของ MMM ลงถึง 127 เท่า โดยให้กลับมาอยู่ที่ราคาพาร์ คือ 1,000 รูเบิ้ลต่อหุ้น! และนั่นเอง “แชร์ลูกโซ่ MMM” ก็ถึงคราวล่มสลาย
โดยทันทีหลังการประกาศ มีรายงานว่ามีนักลงทุนได้รับผลกระทบมากถึง 15 ล้านคน ขณะเดียวกันมีผู้ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองมากถึง 50 ศพ ด้าน “Sergei Mavrodi” และพวกถูกจับกุมและตั้งข้อหาเลี่ยงภาษี
3.Stanford International Bank
มูลค่าความเสียหาย : 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (265,875ล้านบาท)
อีกหนึ่งการฉ้อฉลจากวิธีแชร์ลูกโซ่นี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 1983 จากชายที่มีชื่อว่า "โรเบิร์ต อัลเลน สแตนฟอร์ด" (Robert Allen Stanford) นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในรัฐฟลอริด้า ซึ่งทำธุรกิจล้มเหลว จึงได้ตัดสินใจโยกย้ายธุรกิจไปยังทะเลแคริบเบียน เพื่อหวังหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบภาษีของทางการสหรัฐอเมริกา
ต่อมาในปี 1986 “Robert Allen Stanford” ได้ใช้เงินทุนก่อตั้งธนาคารที่มีชื่อว่า “Stanford International Bank” พร้อมกับ “สอดไส้ข้อเสนอระดมทุนที่ยากจะปฏิเสธ” นั่นคือ “อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าธนาคารทั่วไป”
ขณะเดียวกัน ยังมีการปลอมแปลงเอกสารเพื่อปิดบังผลประกอบการอันแท้จริงอีกด้วย มันจึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ยังคงหลงระเริงอยู่กับ “ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ” จึงยิ่งหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อนี้มากยิ่งขึ้นเป็นเท่าทวี
ทำให้ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจการร่วม 23 ปี “Stanford International Bank” สามารถดูดซับเงินจากนักลงทุนจากทั้งสหรัฐฯ อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน ได้มากมายถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 265,875ล้านบาท!
และกว่าที่จะถูกแฉได้ว่า ธุรกิจดังกล่าวเป็นลักษณะของ “แชร์ลูกโซ่” ก็ล่วงเข้าถึงปี 2009 และกว่าที่ขั้นตอนกระบวนการกฎหมายจะสามารถเอาผิดกับ “Robert Allen Stanford” ด้วยการตัดสินจำคุก 110 ปี ได้ก็ต้องล่วงเข้าถึงปี 2012 เลยทีเดียว!

You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
