ARDA หนุนวิจัยอาหารยุคอนาคต แปรรูปหัวปลีเป็นเนื้อเทียม จับกลุ่มคนรักสุขภาพ
by Trust News, 9 กุมภาพันธ์ 2568
ARDA สนับสนุนนักวิจัย มรภ.เชียงราย พัฒนานวัตกรรม Plant-Based Meat “เนื้อเทียมจากหัวปลี” แปรรูปอาหารจากพืชตีตลาดคนรักสุขภาพ โชว์ทีเด็ดจากหัวปลี 10 บาท / กก. แปรรูปเพิ่มมูลค่าราคาพุ่ง 1,000 บาท / กก. ชู รสชาติและสัมผัสเวลาเคี้ยวสัมผัสใกล้เคียงเนื้อสัตว์
จากเทรนด์อาหารของโลกในปี 2568 พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับอาหารคุณภาพเพื่อสุขภาพบนวิถีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อาหารจากพืช (Plant-Based Food) และผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากพืช (Plant-Based Meat) มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยบริษัทวิจัยตลาด Markets and Markets Analysis คาดการณ์ว่าในปี 2568 มูลค่าของ Plant-Based Meat ในตลาดโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายวิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (ARDA) กล่าวว่า ตลาด Plant-Based Meat แม้จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคเลือกบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง แต่ในช่วงปี 2566 ความนิยมกลับลดลงอย่างมาก เนื่องจากเนื้อเทียมจากพืชมีราคาสูงขึ้นพอๆ กับเนื้อสัตว์ แต่รสชาติและเนื้อสัมผัสยังไม่ดึงดูดใจผู้บริโภค สาเหตุหลักเกิดจากเนื้อเทียมจากพืชส่วนใหญ่ใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้อาจมีกลิ่นถั่วหรือกลิ่นเหม็นเขียว (beany flavor) ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากไม่นิยมกลิ่นนี้ในอาหาร รวมถึงผู้บริโภคบางกลุ่มแพ้ถั่วเหลือง ตลอดจนปัญหาสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการกับความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการส่งออกอาหารจากพืชของไทยย้อนหลัง 3 ปี กลับพบว่ามีมูลค่าการส่งออกเติบโตต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพส่งออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศ

ผู้อำนวยการ ARDA กล่าวต่อว่า ‘โครงการวิจัยการเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำว้าด้วยการแปรรูปเป็นเนื้อเทียมอรรถประโยชน์สูงที่มีการดัดแปรเชิงหน้าที่โปรตีนด้วยเอนไซม์จากสับปะรด’ เกิดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากหัวปลีกล้วยน้ำว้า และแกนสับปะรดภูแลเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรด เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตเกษตรกรรมท้องถิ่นจากเดิมหัวปลีสด ซึ่งราคาขายอยู่เพียงกิโลกรัมละ 5-10 บาท

นายวิชาญ กล่าวอีกว่า เมื่อนำมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงถึงกิโลกลัมละ 1,000 บาท ซึ่งยังถูกกว่าเนื้อเทียมในตลาด นอกจากนี้ ตัวผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากหัวปลียังมีจุดเด่นอยู่ตรงรสชาติและสัมผัสที่ใกล้เคียงเนื้อสัตว์ มีสารอาหารเพิ่มขึ้น อีกทั้งกระบวนการผลิตยังช่วยลดการเหลือทิ้ง (Waste Zero) ไม่ใช้สารเคมี ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากใช้พืชที่ปลูกตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ด้วยนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ได้อย่างแท้จริง

ด้าน ผศ.ดร.สมฤทัย ตันมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า จุดเด่นของโครงการอยู่ที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้หัวปลีเป็นวัตถุดิบหลัก เนื่องจากมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายเนื้อสัตว์ และมีสารอาหาร และธาตุอาหารที่สำคัญ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี เหล็ก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแคลอรี่และไขมันต่ำ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคหัวใจ สำหรับกระบวนการผลิตเนื้อเทียมจากหัวปลีนั้น ทางคณะนักวิจัยจะใช้เอนไซม์ธรรมชาติที่คั้นได้จากแกนสัปปะรดภูแลแทนผงโบรมิเลนที่มีผลให้อาหารติดขม และใช้เห็ดยามาบูชิตาเกะ หรือ เห็ดปุยฝ้าย หรือ เห็ดหัวลิง จากโครงการหลวงดอยคำมาเป็นวัตถุดิบรองในการผลิตเนื้อเทียมจากหัวปลี โดยมีสูตรเฉพาะที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมที่ได้ไม่กระด้างมีความนุ่มฉ่ำ


หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันโครงการวิจัยครั้งนี้มีผู้ประกอบการร่วมวิจัยด้วยและได้ต่อยอดผลิตเนื้อเทียมจากหัวปลีเชิงพาณิชย์ออกวางจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดเชียงรายแล้ว ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค จะเห็นได้จากการนำเนื้อเทียมจากปลีกล้วยไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนเนื้อสัตว์ในเมนูอาหารต่างๆ เช่น น้ำเงี้ยว เบอร์เกอร์ ผัดกะเพรา ฯลฯ ซึ่งในอนาคตทางทีมผู้วิจัยคาดหวังว่าจะมีผู้ประกอบการนำผลวิจัยไปใช้ต่อยอดธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ทั้งในธุรกิจอาหารและบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง สอดรับกับนโยบายของ ARDA ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการเกษตรไทยด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมได้ต่อไป

สำหรับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เบอร์โทรศัพท์ 02 579 7435.
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
