ธีระชัยถามนายกฯอิ๊งค์ 9ปีทำไมไม่ชำระค่าหุ้น
by Trust News, 25 มีนาคม 2568
ธีระชัยถามนายกฯอิ๊งค์ 9ปีทำไมไม่ชำระค่าหุ้น
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ที่มีการตั้งคำถามถึงการที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ใช้ตั๋ว PN ซื้อหุ้นของครอบครัว โดยระบุว่า...
หนีภาษี??: ทางสองแพร่ง
กฎหมายจะถือหลัก substance over form เสมอ
กล่าวคือ จะยึดหลักความเป็นจริงในเนื้อหาทางเศรษฐกิจ ว่าเป็นอย่างไร
ไม่ใช่เพียงแต่ยึดตามรูปแบบของสัญญา ซึ่งอาจจะทำให้มีการลวงตาได้
กรณีจะพิจารณาว่า นายกรัฐมนตรี มีการหนีภาษีหรือไม่นั้น จึงจะต้องนำเอาหลักฐานสภาพแวดล้อมมาพิจารณาประกอบ เรียกว่า circumstantial evidence
กรณีนี้ รูปแบบของสัญญา documentary evidence คือ สำแดงว่า มีการโอนซื้อขายหุ้น ไม่มีการชำระเงิน แต่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่มีกำหนดชำระ และไม่มีดอกเบี้ย
ผมจึงขอให้แนวคิด สำหรับกรมสรรพากร ดังนี้
กรณีจะพิจารณา หลักฐานสภาพแวดล้อมประกอบ ก็ต้องเริ่มต้นตรวจสอบว่า
1. ความสมเหตุสมผล ที่ผู้ขายหุ้น ได้มาซึ่งหุ้น
ผู้ที่ขายหุ้นที่ไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นพี่สาว 2,388 ล้านบาท , พี่ชาย 335 ล้านบาท , ลุง 1,315 ล้านบาท , ป้าสะไภ้ 258 ล้านบาท บุคคลเหล่านี้ ได้หุ้นมาในโอกาสอันใด?
บุคคลเหล่านี้ จ่ายเงินซื้อไปอย่างไร? เพราะเป็นเงินที่อาจจะเกินกว่ารายได้คนทั่วไป
ตัวเลขข้างต้น เป็นหน่วย ‘ล้านบาท’ เช่น พี่สาว 2,388,000,000 บาท ไม่ใช่ 2,388 บาท
กรณีที่การได้หุ้นมาของบุคคลเหล่านี้ อาจจะถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากรก็ได้ ถามว่าบุคคลเหล่านี้ ได้เสียภาษีเงินได้ครบถ้วนหรือไม่?
หุ้นเหล่านี้ เป็นทรัพย์ของนักการเมืองรายใด เอามาซุกไว้หรือไม่?
2. เหตุผลที่ไม่ทวงถามให้ชำระหนี้ตามตั๋ว
ถึงแม้ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีกำหนดชำระ แต่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ เมื่อทวงถาม จึงต้องถามว่า
ผู้ซื้อหุ้นมีความขัดสนเงินทองประการใด จึงไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันที แต่ต้องค้างหนี้ไว้โดยการออกตัวสัญญาใช้เงิน?
หุ้นที่ซื้อจากพี่สาว 2,388 ล้านบาท , พี่ชาย 335 ล้านบาท ในปี 2559 นั้น ถามว่าในปี 2559 ผู้ซื้อขัดสนเงินทองประการใด จึงไม่สามารถชำระค่าหุ้นได้ในปีนั้น?
ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 9 ปี ฐานะของผู้ซื้อหุ้น ไม่ได้ดีขึ้น พอที่จะสามารถชำระค่าหุ้นได้หรือ?
ในห้วงเวลา 9 ปี ผู้ซื้อหุ้นได้มีฐานะร่ำรวยจนมีการซื้อทรัพย์สินอื่นอีกมากมายหรือไม่ ถ้ามี เหตุใดจึงยังไม่สามารถชำระค่าหุ้นได้?
หุ้นที่ซื้อจากลุง 1,315 ล้านบาท , ป้าสะไภ้ 258 ล้านบาท ในปี 2566
ถามว่าในปี 2566 ผู้ซื้อหุ้นมีฐานะขัดสนเงินทองอย่างไร จึงไม่สามารถชำระค่าหุ้นได้?
3. หนี้ 4.4 พันล้านบาท เรียกดอกเบี้ยได้
ถึงแม้ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดว่าฟรีดอกเบี้ย แต่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ปพพ. มาตรา 7 บัญญัติให้เรียกได้ 3% ต่อปี จึงต้องถามว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เป็นหนี้ต่อพี่สาว 2,388 ล้านบาท , พี่ชาย 335 ล้านบาท ตั้งแต่ในปี 2559 ปพพ. ให้เรียกดอกเบี้ยได้ 3% ต่อปี คิดเป็นเงิน 71.64 ล้านบาท และ 10.05 ล้านบาท
ตลอดห้วงเวลา 9 ปี พี่สาวและพี่ชายได้เรียกใช้สิทธิ์ตาม ปพพ. หรือไม่?
ผู้ซื้อหุ้นมีการขัดสนเงินทองอย่างไร จึงไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย 71.64 ล้านบาท และ 10.05 ล้านบาท ต่อปีได้?
ผู้ซื้อหุ้น มีเงินไปใช้จ่ายส่วนตัวปีละหลายสิบล้าน ตั้งแต่เมื่อไหร่ และเงินไปลงทุนซื้อทรัพย์สินต่างๆมากมาย ตั้งแต่เมื่อไหร่?
เหตุใดจึงไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย 71.64 ล้านบาท และ 10.05 ล้านบาท ต่อปีได้?
เนื่องจากประมวลรัษฎากรถือว่า กรณีมีประโยชน์ที่ควรได้ ก็ต้องสำแดงเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี จึงต้องถามว่า
ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ย 71.64 ล้านบาท และ 10.05 ล้านบาท ต่อปี
จึงต้องถือเป็นรายได้ของเจ้าหนี้หรือไม่?
หรือ ผู้เป็นลูกหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน มีภาระต้องเสียดอกเบี้ย 71.64 ลบ และ 10.05 ลบ ต่อปี แต่ได้รับความอะลุ้มอล่วย ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย จึงต้องถือเป็นรายได้ของลูกหนี้หรือไม่?
และทำนองเดียวกัน สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินที่เป็นหนี้แก่ลุง 1,315 ล้านบาท , ป้าสะใภ้ 258 ล้านบาท ซึ่ง ปพพ. ให้เรียกดอกเบี้ยได้ 3% ต่อปี เป็นเงิน 39.45 ล้านบาท และ 7.74 ล้านบาท
กรมสรรพากรจะต้องพิจารณาว่า ถือเป็นรายได้ของเจ้าหนี้ หรือของลูกหนี้?
นี่เอง ที่มหากาพย์เรื่องทำนองนี้ มักจะเป็นทางสองแพร่ง
ถ้าตีความไม่ถือว่าเป็นการซื้อขายจริง ก็จะเข้าข่ายเป็นนิติกรรมอำพราง จะเป็นการหนีภาษี
ถ้าตีความถือว่าเป็นการซื้อขายจริง ก็จะเข้าข่ายต้องเรียกภาษีจากรายได้ จากดอกเบี้ยที่พึงมี
ถ้าไม่เรียกจากเจ้าหนี้ ก็ต้องเรียกจากลูกหนี้
อนึ่ง สำหรับเฟซบุ๊ก กรณ์ จาติกวณิช ที่บรรยายตอนหนึ่งว่า...
[อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นธุรกรรมภายในครอบครัว คือ ลูกสาวขอติดเงินไว้ก่อน ก็ไม่ผิดปกติที่จะบอกเขาว่า
'ไม่เป็นไร มีเมื่อไรค่อยเอามาใช้‘
ส่วนการไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกก็เข้าใจได้ (ส่วนกรณีนี้สมเหตุสมผลหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)]
ผมคิดว่า กรมสรรพากรอาจจะไม่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะ นรม ไม่น่าจะอยู่ในฐานะขัดสนเงินทองมากมายเช่นนั้น
ต้องไม่ลืมว่า นรม รายงานว่ามีทรัพย์สินมากถึง 13,993,826,903.79 บาท
ผมจึงขอให้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อการศึกษา โดยไม่มีการกล่าวหาใดๆ หรือบุคคลใด
วันที่ 25 มีนาคม 2568
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ (ชมคลิป)
ลิเวอร์พูลแชมป์ลีก20สมัย ความยืดหยุ่นสู่ความสำเร็จ
การบินไทย ตั้ง บ.ร่วมทุนกับ KMC ดัดแปลงโบอิ้ง 777-300ER เป็นเครื่องบินขนสินค้า
การบินไทยทำ MOU กับ KMC ผู้เชี่ยวชาญในการดัดแปลงอากาศยาน ในการนำเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 777-300ER ทำเป็นเครื่องคาร์โกส่งสินค้าพิสัยไกลแบบมีประตูขนสินค้าที่ลำตัวส่วนหน้า ที่ฝ่ายช่างดอนเมือง-อู่ตะเภา อันจะสร้างการจ้างงานยกระดับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
