ชาอินทรีย์ดอยตุง ของดีมีคุณภาพ ทำรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนปีละ 1.6 ล้านบาท
by Trust News, 28 มีนาคม 2568
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง แหล่งผลิตและแปรรูป ‘ชาอินทรีย์’ สินค้า GI คุณภาพของดี จ.เชียงราย ได้รับการรับรองมาตรฐาน Organic Thailand สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กลุ่มปีละ 1.6 ล้านบาท
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่าจังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งผลิตชาที่สำคัญของประเทศ ด้วยลักษณะภูมิประเทศ สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตชาคุณภาพ ส่งผลให้ “ชาเชียงราย” เป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ปัจจุบันกระแสความนิยมการดื่มชาและกระแสการรักสุขภาพ โดยเฉพาะ ชาอินทรีย์ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันผลผลิตชาอินทรีย์ได้รับการรับรองมาตรฐาน Organic Thailand จากการลงพื้นที่ของ สศท.1 เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระดับพื้นที่


นายสุนันต์ทา แซ่บู้ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง และนายคมสันต์ สุยะใหญ่ ผู้จัดการด้านการแปรรูปและการขาย เล่าที่มาที่ไปว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง เป็นกลุ่มผลิตชาอินทรีย์และแปรรูปครบวงจร ได้รับมาตรฐานโรงงาน HACCP และมาตรฐาน อย. ที่แสดงให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ชาอินทรีย์มีคุณภาพ ปลอดภัยตรงตามมาตรฐาน การผลิต กลุ่มเริ่มดำเนินการผลิตชาอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2539 – ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกชาอินทรีย์ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จำนวน 330 ไร่ เกษตรกรสมาชิก จำนวน 55 ราย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกชาอู่หลง เบอร์ 12 หรือ ชาจีน และชาอู่หลง เบอร์ 17
ซึ่งชาเป็นไม้ยืนต้นมีอายุ 30 - 40 ปี

สถานการณ์การผลิตปี 2567 เกษตรกรเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม ของทุกปี ได้ผลผลิตชาอินทรีย์สด น้ำหนักรวม 10,000 กิโลกรัม/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 30.30 กิโลกรัม/ไร่/ปี ราคาชาอินทรีย์สดที่เกษตรกรขายได้ เกรดคละ 55 บาท/กิโลกรัม โดยกลุ่มเป็นผู้รับซื้อจากสมาชิกที่ผลิตชาอินทรีย์เท่านั้น

ด้านกระบวนการแปรรูป กลุ่มจะนำชาอินทรีย์สด น้ำหนักรวม 10,000 กิโลกรัม มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งหลังจากการแปรรูปชาอินทรีย์จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2,000 กิโลกรัม โดยการแปรรูปแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1) ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก (Non-fermented tea) คือ ชาเขียวอบแห้ง ได้ผลผลิต 1,000 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 50 ของการแปรรูป ราคา 1,000 บาท/กิโลกรัม
2) ชาที่ผ่านกระบวนการหมักเพียงบางส่วน (Semi-fermented tea) ได้แก่ ชาอินทรีย์อู่หลง เบอร์ 12 ได้ผลผลิต 400 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 20 ของการแปรรูป ราคา 1,500 บาท/กิโลกรัม ชาอินทรีย์ก้านอ่อนอู่หลง เบอร์ 17 ได้ผลผลิต 300 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 15 ของการแปรรูป ราคา 2,000 บาท/กิโลกรัม และชาตังติ่ง
อู่หลง ได้ผลผลิต 100 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 5 ของการแปรรูป ราคา 2,500 บาท/กิโลกรัม และ 3) ชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์ (Completely-fermented tea) คือ ชาแดงอู่หลง ได้ผลผลิต 200 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 10 ของการแปรรูป ราคา 1,600 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ สามารถสร้างรายได้ให้กลุ่ม 1,600,000 บาท คิดเป็นกำไร 640,000 บาท

ขณะที่ สถานการณ์ตลาดชาแปรรูปอินทรีย์ พบว่า ผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 จำหน่ายตลาดภายในประเทศ อาทิ ร้านคาเฟ่ ตลาดออนไลน์ และออกบูธงานต่าง ๆ ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ 30 ส่งออกตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส และเยอรมัน นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าการแปรรูปผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยประยุกต์ใช้วัตถุดิบอินทรีย์ที่มีกลิ่นหอม เพื่อให้สินค้าชาอินทรีย์ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคสมัยใหม่ อาทิ ชาหอมหมื่นลี้ ชามะลิ ชาข้าวกล้องผสมอู่หลง ชาสมุนไพรเจียวกู้หลาน ชาอู่หลงวาโคฉะ ชาอู่หลงมัทฉะ และชาอู่หลงโฮจิฉะ


นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง ยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชาอินทรีย์และมุ่งมั่นจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงขั้นตอนการผลิตและการแปรรูปสินค้าชาอินทรีย์คุณภาพสูง โดยถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญของกลุ่มจากรุ่นสู่รุ่น ในแต่ละปีจะมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป เข้ามาเยี่ยมชมมากกว่า 500 ราย/ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มโอกาสในพัฒนา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและขยายแนวคิดการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ควบคู่กับการรักษาสมดุลของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายคมสันต์ สุยะใหญ่ ผู้จัดการด้านการแปรรูปและการขาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุง 08 2628 8982 หรือ สศท.1 โทร. 053 121 318-9 หรืออีเมล์ zone1@oae.go.th.
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น เมื่อสองพี่น้องต่างอุดมการณ์แตกต่างกัน จะขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรศรีสัชนาลัย สุโขทัย ...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ไขคดีใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
นาครั้งใหม่ ของภาพยนตร์อะนิเมะสืบสวนสุดเดือด “ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ 2” จาก ค่ายยักษ์ใหญ่ บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) จำกัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
