มุมมองสก็อต เบสเซนต์ ทีมเศรษฐกิจไทยจะพบกับอะไร? (ชมคลิป)
by Trust News, 22 เมษายน 2568
มุมมองสก็อต เบสเซนต์ ทีมเศรษฐกิจไทยจะพบกับอะไร?
ทีมเศรษฐกิจไทยที่นำโดยนายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกำลังจะเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดการเจรจาหรืออีกนัยหนึ่งคือ “การขอความกรุณา” กับ “ทำเนียบขาว” ให้ช่วย “ปรับลดมาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้” หรือ Reciprocal Tariff ในเร็วๆนี้
นอกจากจะต้องพบปะกับ “ท่านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” ของสหรัฐอเมริกา ที่มักเอาแน่เอานอนอะไรได้ยากแล้ว อีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่ “ทีมแห่งความหวังของไทย” อาจจะต้องพบเจอ คือ “นายสก็อต เบสเซนต์” (Scott Bessent) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ หนึ่งในทีมเศรษฐกิจคนสำคัญของทำเนียบขาวด้วย
“สก็อต เบสเซนต์” มีมุมมองหรือทัศนคติ ที่อาจจะพอสะท้อน “ไพ่ที่อยู่ในมือ” ซึ่งเก็บงำไว้สำหรับรอรับ “ทีมประเทศไทย” มากน้อยแค่ไหน? วันนี้ “เรา” ลองไปสำรวจข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจเหล่านั้นกันดูสักนิด

สก็อต เบสเซนต์ :
สก็อต เบสเซนต์ เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ปี 1962 รัฐเซาท์แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอายุ 62 ปี สำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University)
สำหรับประสบการณ์ในการทำงาน ก่อนเข้าสู่อำนาจในทำเนียบขาว นั้น หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยเยล สก็อต เบสเซนต์ ได้ไปทำงานที่เกี่ยวข้องธุรกิจด้านการจัดการการลงทุนในบริษัทชั้นนำต่างๆมากมาย เช่น Brown Brothers Harriman , Olayan Group , Kynikos Associates , Soros Fund Management เป็นระยะเวลาร่วม 40 ปี
ทั้งนี้ ในช่วงที่ สก็อต เบสเซนต์ ทำงานกับ จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินโลกนั้น รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯผู้นี้ ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในเหตุการณ์ “Black Wednesdey” ด้วยใช้กลยุทธ์ “Short Sell” ทำกำไรจากตลาดซื้อขายเงินปอนด์ ของ สหราชอาณาจักรในปี 1992 ด้วย
ขณะเดียวกัน เขายังเคยเดินทางไปยังประเทศต่างๆมากกว่า 60 ประเทศ เพื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้นำประเทศและผู้ว่าการธนาคารกลางต่างๆ จนกระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดสกุลเงินและตราสารหนี้ รวมทั้งยังมีประสบการณ์ในการเขียนบทความวิเคราะห์เศรษฐกิจให้กับสื่อชั้นนำต่างๆ
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 79 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในวุฒิสภาอย่างแข็งแกร่ง (68-29เสียง) ขณะเดียวกัน เขายังถือเป็น “รัฐมนตรีคนแรกในรัฐบาลพรรครีพับลิกัน” ที่เปิดเผยตัวตนต่อสาธารณชนว่า “ตัวเองเป็นเกย์” ด้วย
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อภาคการผลิต :
อ้างอิงจากการสัมภาษณ์ในรายการทอล์คโชว์ของ ทักเกอร์ คาร์ลสัน กับ (Tucker Carlsson) เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ระบุอย่างชัดเจนว่า...
“ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ควรนำโรงงานในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศจีน เม็กซิโก หรือ เวียดนาม กลับคืนสู่สหรัฐอเมริกา เพราะมันคือทางออกที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงกำแพงภาษี (ตามนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์)
นั่นเป็นเพราะภาคเอกชนในสหรัฐที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะถดถอย จากยุคของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังจะได้รับโอกาสจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่กำลังมีแผนการปฏิรูปครั้งใหญ่ทั้งในส่วนของการปรับลดขนาดของรัฐบาลกลาง รวมถึงยกเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่เป็นอุปสรรคสำหรับการขับเคลื่อนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการสร้างงาน การลงทุน และ นวัตกรรม”
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ :
สำหรับมุมมองในเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ระบุว่า... “ที่ผ่านมาสหรัฐฯ เปลี่ยนเศรษฐกิจของตัวเองไปสู่ภาคการเงินมากขึ้น เราหยุดสร้างผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
ผมคิดว่าผลลัพท์ที่ดีเพียงไม่กี่ข้อ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือ สหรัฐฯ ได้รับบททดสอบที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนว่า ห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสูงไม่ปลอดภัยในเชิงกลยุทธ์ เพราะสหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตยาได้ด้วยตัวเอง เราไม่สามารถผลิตเซมิคอนดักเตอร์ได้ด้วยตัวเอง และเราไม่สามารถผลิตเซมิคอนดักเตอร์ได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คือ ความมั่นคงของชาติ ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และผม ได้หารือในเรื่องนี้ร่วมกันมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง”

มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อประเทศจีน :
สำหรับมุมมองในเรื่องนี้ สก็อต เบสเซนต์ ระบุว่า “รูปแบบการทำธุรกิจรวมถึงภาคเศรษฐกิจของจีน ถือว่าไม่สมดุลที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกยุคใหม่ เราไม่เคยพบเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน ในแง่ของระดับการส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ต่อหัวประชากร
ดังนั้น ผมจึงคิดว่า มันเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา (ประเทศจีน) ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบดังกล่าว ในเมื่อจีนกำลังอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และกำลังพยายามเน้นไปที่ภาคการส่งออก เพื่อหวังให้หลุดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสหรัฐฯคงไม่สามารถปล่อยให้จีนสามารถทำเช่นนั้นได้
เพราะหากยังคงปล่อยให้รูปแบบดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป แรงงานชาวสหรัฐ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้คำมั่นเอาไว้แล้วว่า มาตรฐานการครองชีพในรูปแบบเดิมจะต้องกลับคืนมา นั้น จะไม่มีทางฟื้นตัวจาก China Shock หรือ การนำเข้าสินค้าจีนสู่ตลาดจำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและตลาดแรงงานของสหรัฐ ได้อีกเลย”
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ :
สำหรับมุมมองในเรื่องนี้ สก็อต เบสเซนต์ ระบุว่า “ไม่ควรฟังใครก็ตามในตลาดที่พูดถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หรือ ตัวของผมเอง เพราะเรามีนโยบายสำหรับการทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีความแข็งแกร่งในระยะยาว”
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อภาคการเงิน :
ที่ผ่านมา สก็อต เบสเซนต์ แสดงจุดยืนที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มาโดยตลอด ในเรื่องจะที่จะผ่อนปรนกฎระเบียบอันเข้มงวดในการควบคุมภาคการเงินของสหรัฐฯ เพื่อหวังให้สถาบันการเงินต่างๆ มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยหนึ่งในการส่งสัญญาณสำคัญ สำหรับประเด็นนี้ คือ การเรียกร้องให้มีการผ่อนคลายกฎ Supplementary Leverage Ratio หรือ SLR เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความยืดหยุ่นในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพื่อเพิ่มความสามารถในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ว่าในอีกด้านหนึ่ง อาจมีความเสี่ยงต่อระบบและเสถียรภาพทางการเงินโดยรวมก็ตามที
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อมาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ :
สก็อต เบสเซนต์ ประสานเป็นเสียงเดียวกับผู้นำสหรัฐมาตลอดเช่นเดียวกันว่า “มาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้” ไม่ใช่การกีดกันทางการค้า แต่เป็นการสร้างให้เศรษฐกิจสหรัฐ มีการแข่งขันและยืดหยุ่นมากขึ้น
ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า นโยบายดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหา “เงินเฟ้อสูงขึ้น” นั้น รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1.การสร้างรายได้ 2.การปกป้องอุตสาหกรรมและแรงงานสหรัฐจากแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และ 3.มันคือเครื่องมือสำหรับการเจรจาที่มีประสิทธิภาพในการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ
โดยครั้งหนึ่ง สก็อต เบสเซนต์ ถึงกับเคยระบุว่า “ดังที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยกล่าวย้ำแล้วย้ำอีก ภาษีศุลกากรตอบโต้ เป็นคำที่ผมชื่นชอบที่สุด และหากคู่ค้าของเราคิดตอบโต้ พวกเขาจะต้องเผชิญกับตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากพวกเขาต้องการเจรจา เรายินดีที่จะพูดคุยด้วย”
มุมมอง สก็อต เบสเซนต์ ต่อมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ :
แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ 3-3-3 ของ สก็อต เบสเซนต์ คือ การอิงตามกฎสามประการหลักของการลงทุนโดย เรย์ ดาลิโอ กูรูด้านการลงทุน เจ้าของ Bridgewater Associates ซึ่งเขาเชื่อว่าวิกฤตหนี้ของสหรัฐฯจะไม่ได้รับการแก้ไข เว้นแต่การขาดดุลงบประมาณ จะลดลงจากปัจจุบันที่ 6% ถึง 7% ลงมาอยู่ที่ 3%
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจดังกล่าว ประกอบไปด้วย 1. การลดการขาดดุลงบประมาณประจำปีจาก 6% เป็น 3% ต่อปี 2. การทำให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี และ 3. ปริมาณการผลิตน้ำมัน จะต้องเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากการผลิตปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 13 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ซึ่งทั้งหมดนี้ นำไปสู่สุนทรพจน์อันแข็งกร้าว ของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใน Liberation Day เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ที่ผ่านมา
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ จากบทความอันแสนยาวยืด “คุณ” มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง?

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม :
สมการความสัมพันธ์ Apple made in China
คัมภีร์เข้าสู่ทำเนียบขาว ฉบับ ปีเตอร์ นาวาร์โร
ผ่ามุมคิดรัฐบาลสิงคโปร์ แม้โดนภาษีทรัมป์แค่10%
What If? รัสเซียVSนาโต จำลอง3ฉากทัศน์การเผชิญหน้า
You might be intertested in this news.
Mostview
โทโฮคุ ชินคันเซ็น E5 ฮายาบุสะ 60 ตัวจริง จากหนังดัง "Bullet Train Explosion"
จากหนังแอ็คชั่นญี่ปุ่น "Bullet Train Explosion : ระเบิดรถด่วนขบวนระห่ำ" เรื่องราวชินคันเซ็น ขบวนฮายาบุสะ 6050B ถูกคนร้ายขู่วางระเบิด ห้ามรถวิ่งต่ำกว่า 100 กม./ชม. กับข้อมูลที่จะพาไปตามรอยเส้นทางรถไฟที่วิ่งเร็วสุดที่ 320 กม./ชม.จากชิน อาโอโมริตรงสู่โตเกียว
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม
แนะนำหนังสือ-อีบุ๊ก นิยายน่าอ่าน ประจำเดือนพฤษภาคม...
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น
เปิดตัว “พระร่วง..มหาศึกสุโขทัย” กับการตีความใหม่ที่เข้มข้น เมื่อสองพี่น้องต่างอุดมการณ์แตกต่างกัน จะขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรศรีสัชนาลัย สุโขทัย ...
ไฟฟ้าดับยุโรปคลี่คลาย สเปนกู้คืนได้ 50% โปรตุเกสไม่พบการโจมตีทางไซเบอร์
สเปน กู้คืนไฟฟ้ากลับเข้าระบบแล้ว 50% หลังไฟฟ้าดับวงกว้างกว่า 10 ชั่วโมง ด้านโปรตุเกสเจอรับผลกระทบไม่ต่างกัน จนต้องประชุมฉุกเฉิน 2 ประเทศ เร่งหาสาเหตุ-แก้ปัญหา ขณะที่ ยังไม่พบหลักฐานชี้ว่าเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อโครงสร้างสาธารณูปโภค
ไขคดีใหม่ “ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน” เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ
นาครั้งใหม่ ของภาพยนตร์อะนิเมะสืบสวนสุดเดือด “ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะ มูฟวี่ ภาค 28 : ปริศนาภาพติดตามรณะ 2” จาก ค่ายยักษ์ใหญ่ บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) จำกัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
